เพิ่มมูลค่าผลผลิตจากชุมชนสู่ประเทศ ทีม U2T ตำบลตลิ่งชัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา จังหวัดตาก

ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของลำห้วย ลำคลอง ที่ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตร อีกทั้งอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำกิ่วหญ้าแทน อ่างเก็บน้ำตาผ้าขาว อ่างเก็บน้ำห้วยแม่กองค่าย และอ่างเก็บน้าห้วยแม่รำพัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาปลาชุกชุมตลอดทั้งปี สามารถหารายได้เพิ่มจากการทำการเกษตรได้อีกทาง แต่คนในชุมชนกลับยังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มาเนิ่นนาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเกษตร ผลผลิตราคาตกต่ำ หนี้สินครัวเรือน คนวัยทำงานต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ต่างประเทศ จึงเหลือเพียงเด็กและผู้สูงวัยอยู่บ้าน ส่วนบัณฑิตจบใหม่เมื่อกลับมายังบ้านเกิดก็ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งกลายเป็นวงจรของปัญหาที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการว่างงาน ฯลฯ


เมื่อทีม U2T ตำบลตลิ่งชัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา จังหวัดตาก ลงพื้นที่สำรวจชุมชน พร้อมหารือแบบบูรณาการร่วมกันกับนักวิชาการ ผู้นำชุมชน คนในชุมชน จึงเห็นพ้องตรงกันว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยนำทรัพยากรที่มีจำนวนมากในชุมชนอย่างปลามาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการถนอมอาหารที่มีคุณภาพ ทั้งนี้มีการจัดฝึกอบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก เพื่อให้ความรู้ในการแปรรูปวัตถุดิบ ตั้งแต่การคัดสรร การจัดเตรียมวัตถุดิบ การทดลองสูตร เทคนิคการทำน้ำพริก การทำปลาส้ม การนำปลาร้ามาพัฒนาต่อยอดเป็นน้ำพริกปลาร้าหรือแจ่วบอง โดยมีส่วนประกอบคือ ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ใบมะกรูด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ปลูกกันทุกครัวเรือนอยู่แล้ว และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลามากขึ้น เพื่อรองรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์แจ่วบอง ชุมชนมีอาชีพเสริม มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี


นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมการเลือกบรรจุภัณฑ์ก่อนส่งไปจำหน่ายยังร้านค้าในชุมชน และทางออนไลน์เพื่อให้มีตลาดรองรับและเกิดการกระจายสินค้า มีผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน การจัดทำบัญชี อย่างครบวงจร การเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรม นอกจากเป็นการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพ มาตรฐานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นและนำทรัพยากรที่โดดเด่นของชุมชนมาสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง.


ขอบคุณภาพจาก https://mgronline.com

EVENT อื่นๆ

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว.ได้จัดวางโรดแมปโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เบื้องต้น โดยด้านการจ้างงาน เริ่มจ้างงาน 60,000 คน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564ที่ผ่านมา และประมาณ 15,000 คน เริ่มการพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านภาษาอังกฤษ และด้านสังคม ซึ่งตามแผนงานจะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้แล้วเสร็จภายใน ต.ค.2564 ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า ด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคม แต่ละมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.พ.2564 และจะทบทวน ปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ ให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยแบ่งเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยจะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จะมีการดำเนินการแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน คาดจะเริ่มดำเนินการ มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ โดยการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดจะจัดในเดือน พ.ย.2564 HTTPS://THAINEWS.PRD.GO.TH/TH/NEWS/DETAIL/TCATG210208162526521

“โครงการ U2T เป็นการช่วยเหลือลูกหลานชาวบ้าน 6 หมื่นคน ให้มีงานทำในภาวะวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน จะสร้างคน 6 หมื่นคนด้วยทักษะใหม่ ให้เป็นคนที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทย จาก 3 พันตำบล สู่อำเภอ สู่จังหวัดและทั่วทุกภูมิภาค” U2T เป็นโครงการจ้างงาน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน 60,000 คน ให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้า โดยดำเนินการ 1 ปี สำหรับโรดแม็ปของโครงการ U2T ขณะนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เริ่มพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆผ่านระบบออนไลน์ ทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะด้านการเงิน ภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม รวมทั้งทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับงานพัฒนาชุมชน พร้อมๆกับการจัดทำข้อมูลชุมชน ข้อมูลตำบลใน 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของตำบลนั้นๆ ในการใช้ทำแผนการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ โดยข้อมูลจะมีทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านชุมชนเมืองของตำบล เป็นต้น HTTPS://WWW.THAIRATH.CO.TH/NEWS/LOCAL/2028517

นายศุภชัย กล่าวว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากการทำข้อมูลประสิทธิภาพและศักยภาพตำบลแล้ว ยังจะมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่สะท้อนประสิทธิภาพและศักยภาพตำบล เพื่อจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มข้อมูลด้านการท่องเที่ยว กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลุ่มข้อมูลด้านชุมชนเมือง ของตำบล เป็นต้น ทั้งนี้จะทำการจัดเก็บข้อมูลลง DATA LAKE ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ตุลาคมนี้ ส่วนด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ และจะมีการทบทวนและปรับปรุงแผนเป็นระยะๆให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยกิจกรรมต่างๆนั้น จะแบ่งเป็นกรอบใหญ่ๆ เช่น กิจกรรมในด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนี้ จะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย “นอกจากนี้ภายใต้ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล จะมีการดำเนินการที่เรียกว่าแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานจะนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน ซึ่งคาดว่าเริ่มดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ และการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2564” รองปลัด อว.กล่าว HTTPS://WWW.THAIPOST.NET/MAIN/DETAIL/92386

อว.ส่ง 60,000 นักศึกษา-ประชาชนลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน 3,000 ตำบล พร้อม 76 มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลทำบิ๊กดาต้าให้ประเทศ “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.อว.ลั่นพามหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว เตรียมขอ ครม. อีก 4,900 ตำบลให้ครบ 7,900 ตำบลทั่วประเทศ รมว.อว. กล่าวต่อว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มีเป้าหมาย 3 ประการ ประการแรก พัฒนาคน โครงการนี้ถือเป็นครั้งแรกประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชนลงไปทำงานชุมชนพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเดือนแรกต้องรีบทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทันที เมื่อจะรบแล้วต้องชนะ เพราะสิ่งที่ อว.จะดำเนินการต่อก็คือการนำเสนอ ครม. เพื่อให้เกิดการจ้างงานในอีก 4,900 ตำบล ซึ่งจะทำให้มีนักศึกษา ประชาชน และอาจารย์มหาวิทยาลัยลงไปทำงานทุกตำบลทั่วประเทศ คือ 7,900 ตำบล ประการที่ 2 การลงพื้นที่ครั้งนี้ จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำบิ๊กดาต้าของประเทศ ซึ่งแต่ละกระทรวงก็ฝากให้ อว.ช่วยไปดำเนินการ และประการที่ 3 เราไม่สนใจแค่ว่านักศึกษาได้ทำงานแต่สนใจว่านักศึกษาจะได้รับการฝึกทักษะเพิ่มขึ้น มีมุมมองและวิธีคิดที่ทันสมัย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล การเงิน การลงทุน ภาษาและสังคม HTTPS://WWW.DAILYNEWS.CO.TH/ARTICLE/822640

Loading...