U2T สถานพลัส จัดกิจกรรมตรวจสารพิษในเลือดให้กับกลุ่มประชาชนตำบลสถาน

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ตัวแทนทีม ตำบล มหาวิทยาลัย U2T สถานพลัส ร่วมกับศูนย์จัดการเครือสุขภาวะชุมชนตำบลสถาน (ศจค.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถาน จัดกิจกรรมตรวจสารพิษในเลือดในกลุ่มประชาชนตำบลสถาน


โดยมีคุณหมอสุพจน์ วิชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถานเป็นผู้นำขับเคลื่อนการดำเนินงาน  และภายหลังจากการตรวจ รวมถึงทราบผลแล้วทางทีมศูนย์จัดการเครือสุขภาวะชุมชนตำบลสถาน ได้ร่วมหารือกับทางคุณหมอเพื่อร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดการปัญหาต่อไป


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/Sathanplus

รูปเพิ่มเติม

EVENT อื่นๆ

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว.ได้จัดวางโรดแมปโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เบื้องต้น โดยด้านการจ้างงาน เริ่มจ้างงาน 60,000 คน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564ที่ผ่านมา และประมาณ 15,000 คน เริ่มการพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านภาษาอังกฤษ และด้านสังคม ซึ่งตามแผนงานจะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้แล้วเสร็จภายใน ต.ค.2564 ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า ด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคม แต่ละมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.พ.2564 และจะทบทวน ปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ ให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยแบ่งเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยจะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จะมีการดำเนินการแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน คาดจะเริ่มดำเนินการ มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ โดยการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดจะจัดในเดือน พ.ย.2564 HTTPS://THAINEWS.PRD.GO.TH/TH/NEWS/DETAIL/TCATG210208162526521

“โครงการ U2T เป็นการช่วยเหลือลูกหลานชาวบ้าน 6 หมื่นคน ให้มีงานทำในภาวะวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน จะสร้างคน 6 หมื่นคนด้วยทักษะใหม่ ให้เป็นคนที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทย จาก 3 พันตำบล สู่อำเภอ สู่จังหวัดและทั่วทุกภูมิภาค” U2T เป็นโครงการจ้างงาน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน 60,000 คน ให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้า โดยดำเนินการ 1 ปี สำหรับโรดแม็ปของโครงการ U2T ขณะนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เริ่มพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆผ่านระบบออนไลน์ ทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะด้านการเงิน ภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม รวมทั้งทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับงานพัฒนาชุมชน พร้อมๆกับการจัดทำข้อมูลชุมชน ข้อมูลตำบลใน 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของตำบลนั้นๆ ในการใช้ทำแผนการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ โดยข้อมูลจะมีทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านชุมชนเมืองของตำบล เป็นต้น HTTPS://WWW.THAIRATH.CO.TH/NEWS/LOCAL/2028517

นายศุภชัย กล่าวว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากการทำข้อมูลประสิทธิภาพและศักยภาพตำบลแล้ว ยังจะมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่สะท้อนประสิทธิภาพและศักยภาพตำบล เพื่อจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มข้อมูลด้านการท่องเที่ยว กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลุ่มข้อมูลด้านชุมชนเมือง ของตำบล เป็นต้น ทั้งนี้จะทำการจัดเก็บข้อมูลลง DATA LAKE ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ตุลาคมนี้ ส่วนด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ และจะมีการทบทวนและปรับปรุงแผนเป็นระยะๆให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยกิจกรรมต่างๆนั้น จะแบ่งเป็นกรอบใหญ่ๆ เช่น กิจกรรมในด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนี้ จะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย “นอกจากนี้ภายใต้ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล จะมีการดำเนินการที่เรียกว่าแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานจะนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน ซึ่งคาดว่าเริ่มดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ และการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2564” รองปลัด อว.กล่าว HTTPS://WWW.THAIPOST.NET/MAIN/DETAIL/92386

อว.ส่ง 60,000 นักศึกษา-ประชาชนลงพื้นที่ทำงานกับชุมชน 3,000 ตำบล พร้อม 76 มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลทำบิ๊กดาต้าให้ประเทศ “เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.อว.ลั่นพามหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว เตรียมขอ ครม. อีก 4,900 ตำบลให้ครบ 7,900 ตำบลทั่วประเทศ รมว.อว. กล่าวต่อว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มีเป้าหมาย 3 ประการ ประการแรก พัฒนาคน โครงการนี้ถือเป็นครั้งแรกประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชนลงไปทำงานชุมชนพร้อมกัน เพราะฉะนั้นเดือนแรกต้องรีบทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทันที เมื่อจะรบแล้วต้องชนะ เพราะสิ่งที่ อว.จะดำเนินการต่อก็คือการนำเสนอ ครม. เพื่อให้เกิดการจ้างงานในอีก 4,900 ตำบล ซึ่งจะทำให้มีนักศึกษา ประชาชน และอาจารย์มหาวิทยาลัยลงไปทำงานทุกตำบลทั่วประเทศ คือ 7,900 ตำบล ประการที่ 2 การลงพื้นที่ครั้งนี้ จะเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทำบิ๊กดาต้าของประเทศ ซึ่งแต่ละกระทรวงก็ฝากให้ อว.ช่วยไปดำเนินการ และประการที่ 3 เราไม่สนใจแค่ว่านักศึกษาได้ทำงานแต่สนใจว่านักศึกษาจะได้รับการฝึกทักษะเพิ่มขึ้น มีมุมมองและวิธีคิดที่ทันสมัย เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะทักษะในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล การเงิน การลงทุน ภาษาและสังคม HTTPS://WWW.DAILYNEWS.CO.TH/ARTICLE/822640

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า U2T เป็นโครงการที่สร้างอนาคตให้กับ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างอนาคต สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับนักศึกษาและประชาชน 60,000 คนที่ อว.จ้างงาน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี 30,000 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 15,000 คน และประชาชนอีก 15,000 คน "โดยเริ่มส่งคนจำนวน 60,000 คนสู่ 3,000 ตำบล ในวันที่ 1 ก.พ. 2564 หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 10,000 ล้านบาทให้ อว. ไปจ้างงานเมื่อปลายปี 2563 เพื่อทำให้การว่างงานทุเลาลง พร้อมกับสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้ได้รับการจ้างงานทั้ง 60,000 คน และที่สำคัญให้คนรู้ว่าบัดนี้มหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว สำหรับโครงการนี้จะมีการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน" รมว.อว.กล่าว HTTP://WWW.OPT-NEWS.COM/NEWS/15549#.YBE4X4B3OVK.LINEME

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ(U2T) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ โครงการ U2T จะลงพื้นที่ ต.บ้านแก้ง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว เพื่อทำกิจกรรม U2T ONLINE SERIES EP2 พลิกโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนให้ประทับใจสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบ โดยงานนี้ จะมี น.ส.รุ่งนภา คำพญา ที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยวของฮอกไกโดและภูมิภาคโทโฮคุและผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนของประเทศญี่ปุ่น เป็นวิทยาการในการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับชุมชน เพื่อที่จะเปลี่ยนโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนของประเทศไทยให้มีกลิ่นอายสไตล์ญี่ปุ่นเพื่อกระตุ้นและยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวในวิถีใหม่และสินค้าพื้นบ้าน พื้นถิ่น ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวแนวใหม่ทั้งด้านสุขภาพ ผจญภัย อนุรักษ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังลงพื้นที่บ้านคลองอาราง ต.บ้างแก้ง ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างพึ่งพาตัวเองและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีจุดเด่น คือ กลุ่มอาชีพแปรรูปหน่อไม้ดอง ทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือโอทอป เป็นหน่ออ่อนของไผ่ที่แตกจากเหง้าใต้ดิน มีสีเหลืองอ่อน รสกรุบกรอบ นำมาปรุงอาหารได้ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด กลุ่มอาชีพทำน้ำส้มควันไม้ ผลิตได้จากกระบวนการเผาไหม้ไม้ เพื่อการทำถ่านหุงต้ม ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มซีอิ๊วขาว ผลิตภัณฑ์จักรสานจากไม้ไผ่ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ หมวก กระบุง ตะกร้า และตุ้มหู ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก รวมทั้ง โฮมสเตย์ บ้านคลองอาราง ที่อยู่ในช่วงของการพัฒนา ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสื่อสารฯ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาในช่วงปี 2563 คณะทำงานระดับพื้นที่และผู้แทนจากชุมชนจาก 16 ชุมชน ได้มีการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพื้นที่ อาทิ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสู่วิสาหกิจชุมชน โดยเริ่มต้นด้วยการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ผลิตภัณฑ์จักรสานจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์น้ำพริก ผลิตภัณฑ์การแปรรูปหน่อไม้ดอง เป็นกลุ่มอาชีพเริ่มต้น นำร่องเพื่อขยายผลไปสู่กลุ่มอาชีพอื่นในตำบล และนำไปสู่การขอขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งกลุ่มเครื่องจักรสานไม้ไผ่ ได้เข้าสู่กระบวนการในการรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และอยู่ในช่วงของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากหน่วยงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งได้พัฒนาใน รูปแบบของการทำตลาดออนไลน์ ดังนั้น โครงการ U2T หวังว่าจะลงไปพลิกโฉมการท่องเที่ยวและสินค้าชุมชนให้มีรูปแบบสไตล์ญี่ปุ่นเพื่อสร้างจุดขายให้กับนักท่องเที่ยวได้

การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้นย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูนั่งหรือนอน ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ เสื่อลายอัตลักษณ์ของหมู่บ้านคือ ลายพญานาค และลายพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอ ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา" ซึ่งได้นำมาพัฒนาต่อยอดลายเสื่อกกของหมู่บ้านอีกด้วยทางมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ได้เข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย ที่จะทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความทุกข์น้อยลง มีความสุขเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้มีส่วนสนับสนุนให้ชาวบ้านมีงานทำ มีรายได้ และชุมชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของเขาเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบลายเสื่อ รวมไปถึงการแกะลายไม้ในชุมชน เป็นต้นผู้ที่ถูกจ้างงานในท้องถิ่นจะรู้ดีว่าชุมชนของตนเองมีองค์ความรู้ด้านใด ชุมชนมีวัตถุดิบอะไร สามารถเข้าถึง และพัฒนาได้อย่างไร จึงง่ายต่อการทำงานร่วมกันกับบัณฑิตผู้จบใหม่ และมหาวิทยาลัยในโครงการ U2T เพื่อดำเนินงานไปพร้อม ๆ กัน ผศ.ดร. กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีได้กล่าวว่า “รู้สึกประทับใจ ภูมิใจว่า ชาวบ้านสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ชุมชนของเขา”ขอบคุณภาพจาก สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี และมติชนออนไลน์

“เอนก” ลงพื้นที่นราธิวาส ติดตามการจ้างงานโครงการ U2T เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอยากฟังเสียงสะท้อนจากชุมชน ชี้รัฐบาลไม่เคยทอดทิ้งประชาชน ปลื้ม U2T ทำให้เศรษฐกิจฐานรากเจริญ กระตุ้นชาวบ้านทำธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ชู “ฮาลาบาลา”สวยไม่แพ้ใครเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 64 ที่ศาลาศิลปาชีพบ้านโต๊ะโม๊ะ หมู่ 3 ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. พร้อมผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่เพื่อติดตามการจ้างงานในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีผลงานที่ผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการทำร่วมกับชุมชนมาจัดแสดง อาทิ กลุ่มกระจูดบ้านโคกพยอม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูป ชุมชนผลิตแป้งสาคูหลากสี ชุมชนพัฒนากระบวนการเลี้ยงผึ้งชันโรงและทำสบู่จากน้ำผึ้งชันโรง และสารสกัดจากสาบเสือ กลุ่มแปรรูปลูกหยี ชุมชนสปาสมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ ศ.ดร.เอนก กล่าวว่า จ.นราธิวาสเป็นจังหวัดที่ 3 ที่ตนได้ลงพื้นที่เพื่อติดต่อการจ้างงานในโครงการ U2T ซึ่งน่าดีใจที่ผู้ได้รับการจ้างงานใน จ.นราธิวาส 15 ตำบล ใน 6 อำเภอ จำนวน 300 อัตรา ล้วนแต่เป็นคนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงทั้งสิ้น การจ้างงานทำให้ตำบลต่างๆ คึกคัก ชุมชนมีชีวิตชีวา ขณะที่สภาพในพื้นที่ก็สวยงามและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะป่าฮาลาบาลา ที่สำคัญในพื้นที่ อ.สุคิริน ถือว่ามีความมหัศจรรย์ที่มีคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือคนอีสาน ซึ่งเป็นไทยพุทธและชุมชนมุสลิม รวมถึงชุมชนชาวคริสต์มาอยู่รวมกันได้อย่างสันติ มีความรัก ความสามัคคี เป็นการผสมผสานด้านพหุวัฒนธรรมได้อย่างลงตัวรมว.อว.กล่าวต่อว่า สำหรับงานที่ผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ได้มาทำร่วมกับชุมชนมีหลายประเภท เช่น เรื่องของสมาร์ทฟาร์ม ปลูกผักด้วยเทคโนโลยี ถือเป็นการเกษตรที่แม่นยำ ใช้นำ้ ใช้ปุ๋ย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผักที่ปลูกได้ราคาดี ในพื้นที่ไม่พอจำหน่าย อีกเรื่องคือการสอนให้ชาวบ้านทำสปาด้วยหลักแพทย์แผนไทย มีการใช้น้ำผึ้งชันโรงกับหญ้าสาบเสือเพื่อสมานผิว เป็นการเพิ่มมูลค่า รวมทั้งเรื่องการสอนให้ชาวบ้านทำธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน เพราะนักท่องเที่ยวอยากมาเที่ยวแต่ยังขาดคนบริการการท่องเที่ยว อ.สุคิริน สวยไม่แพ้ “อัยเวง” ที่ จ.ยะลา การที่ผู้ได้รับการจ้างงานมาใช้ชีวิตในชุมชนกับชาวบ้านทำให้เศรษฐกิจฐานรากเจริญขึ้น โดยตนจะนำเสนอโครงการ U2T กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะพล.อ.ประยุทธ์ อยากฟังว่าชุมชน ชาวบ้าน คิดอย่างไรกับโครงการของรัฐบาลว่ารู้สึกอย่างไร พอใจหรือไม่ ที่สำคัญ อยากให้รู้ว่ารัฐบาลไม่เคยทอดทิ้งประชาชน“การมาเยี่ยมชุมชนภูเขาทอง อ.สุคิริน ในวันนี้ ผมตั้งใจมาให้กำลังใจคนทำงานและชาวบ้าน แต่สิ่งได้คือกำลังใจที่ส่งกลับมาถึงผม ทำให้ผมมีกำลังใจในการทำงานให้หนักขึ้น เพราะหัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือ การปลูกคน สร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นการติดอาวุธเพื่อให้พวกเขานำไปต่อยอดในการทำมาหาเลี้ยงชีพในอนาคตต่อไป”

การเพาะเห็ดฟางบนแปลงดิน จัดทำโดย คณะทำงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย )เห็ดฟางเป็นเห็ดที่รับประทานได้ชนิดหนึ่ง โดยใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกแม้แตกต่างกันในหลายประเทศ แต่ยังมีความหมายว่าเห็ดฟางเหมือนกัน เห็ดฟางมักพบในรูปแบบสด แต่มีพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปทรงไข่มีเปลือกหุ้ม เมื่อเจริญเติมโตขึ้นเปลือกหุ้มปริแตกคงเหลือเปลือกหุ้มที่โคน ก้านผิวนอกของเปลือกหุ้มส่วนมากมักเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อข้อดีของการเพาะเห็ดฟางบนแปลงดิน คือ เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน

ทีม U2T ตำบลทางช้าง ร่วมกันทำแปลงปลูก ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทางช้าง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขุดหน้าดินยกร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการปลูกพืชสมุนไพร “ต้นฟ้าทะลายโจร” ซึ่งได้นำความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในการปลูกพืชสมุนไพรออแกนิค มาปรับใช้ในโครงการทีม U2T ตำบลทางช้าง ร่วมกันทำแปลงปลูก ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทางช้าง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขุดหน้าดินยกร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการปลูกพืชสมุนไพร “ต้นฟ้าทะลายโจร” ซึ่งได้นำความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการในการปลูกพืชสมุนไพรออแกนิค มาปรับใช้ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ภายในกิจกรรมในครั้งนี้ คณะอาจารย์ บัณฑิต ประชาชน และนักศึกษา ยังได้ร่วมกันทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักจากวัสดุเศษปลา ทำการไถหน้าดิน ปรับหน้าดินให้สมบูรณ์ ขุดยกร่องให้เรียบร้อย และทำโรงเรือนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเพาะปลูกต้นฟ้าทะลายโจร ซึ่งในขณะนี้แปลงพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรได้สร้างสำเร็จแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ !อีกทั้งในระหว่างการทำกิจกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทำการเว้นระยะห่าง (SOCIAL DISTANCING) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) เป็นอย่างดี ตามมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19สามารถติดตามข่าวสารของ U2T ตำบลทางช้างได้ที่ Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/U2T- ตำบลทางช้างYoutube Chanel : https://www.youtube.com/watch?v=vgfhAdKV58s

ศ.พิเศษ ดร.เอนก ประกาศภารกิจพิเศษ "U2T Covid week" ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวการทำงานของโครงการ U2T เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ในช่วงวันที่ 23-31 พฤษภาคมนี้โดยผู้เข้าร่วมโครงการ U2T จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมพิเศษในพื้นที่ 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมเชิงรุก และกิจกรรมเชิงรับมือ โดยกิจกรรมเชิงรุก คือ “รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน” โดยจะเน้นการเข้าไป เคลียร์พื้นที่ทำความสะอาด เพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้สามารถลงพื้นที่ เข้าไปปฎิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยจะมี 3 Step คือStep ที่ 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิดStep ที่ 2 สร้าง Safe Zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด Step ที่ 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม กับสถานการณ์โดย “โรงเรียน” จะเป็นสถานที่แรก ที่เราจะเริ่มปฏิบัติภารกิจ เนื่องจากโรงเรียนมีแนวโน้มเปิดเรียนวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับน้องๆ ผู้ปกครอง และครู อาจารย์ จนถึงบุคลากรในโรงเรียนกิจกรรมต่อมา เป็นกิจกรรมเชิงรับมือ คือ “รวมพลังฉีดวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดของโรค” โดยชาว U2T จะร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิด ด้วยการ- ศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน- เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติก่อน และหลังฉีดวัคซีน- เร่งสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว เร่งสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้ และคนในชุมชนได้รับการฉัดวัคซีนการรวมพลังฉีดวัคซีนของชาว U2T ในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน เพื่อให้ชุมชนกลับมาใช้ชีวิตกัน อย่างปกติในเร็ววันนอกจากนี้ กำลังพลชาว U2T จะต้องช่วยกันวางแผน กำหนดรูปแบบ เพื่อลงพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือ ชาวบ้านที่กำลังเดือดร้อน หรือต้องการความช่วยเหลือ และตลอดทั้งสัปดาห์ ทุกคนยังสามารถร่วมสนุกกับเว็บไซต์ U2T.ac.th เพื่อส่งภาพถ่ายหรือแชร์ ประสบการณ์ ท้าทาย มาร่วมสนุกได้ ในกิจกรรมชาเล้นท์ของเรา อย่าพลาดมาร่วมทำกิจกรรมกับพวกเรานะครับ!!

ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด แต่โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมแบบบูรณาการ หรือ U2T กว่า 3,000 ตำบลยังคงเดินหน้าปรับกำลัง “กองหนุน” เสริมกำลัง “กองหน้า” รวมพลังด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือการเอาชนะโควิด-19

แม้สถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดในรอบที่ 3 แต่ U2T ตำบลนาโป่ง ยังคงปฏิบัติงานเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอมในพื้นที่ตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในกิจกรรม “U2T Covid Week ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด” โดยได้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้Step ที่ 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อขจัดโควิด โดยร่วมกันทำความสะอาดสถานศึกษาในตำบลนาโป่ง เตรียมพร้อมสำหรับวันเปิดภาคเรียน ของเด็กนักเรียน และคณะครู อย่างปลอดภัย ห่างไกลโควิดStep ที่ 2 สร้าง Safe Zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด เตรียมความพร้อมการใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ สาเหตุ ความรุนแรง และวิธีป้องกันให้อยู่ห่างไกลจากโรคโควิด-19’Step ที่ 3 จัดหาเครื่องมือให้พอ และพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19 ทาง U2T ตำบลนาโป่งได้จัดหาหน้ากากอนามัย พร้อมกับจัดทำน้ำยาฆ่าเชื้อ และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ น้ำยาฆ่าเชื้อใช้สำหรับฉีดพ่นฆ่าเชื้อในบริเวณต่าง ๆ ร่วมกับ อสม. ตำบลนาโป่ง รวมถึงได้มอบหน้ากากอนามัย น้ำยาฆ่าเชื้อ และเจลแอลกอฮอล์ ให้กับสถานศึกษาในตำบลรวมไปถึงกิจกรรมการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลนาโป่งhttps://www.facebook.com/u2ttambolnapong.thoen.lampang/videos/525812301976904

โครงการยกระดับเศรษฐกิจ​และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำเสนออาชีพสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับตำบลบางงาม คือการผลิต และออกแบบรถอัดฟาง แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ผลิตนั้นคือ   คุณ ถวัลย์ ชาวบ้านกร่าง หรือ ปู่หวัน โดยปู่หวันอาศัยอยู่ในพื้นทีหมู่ 5 บ้านนาป่า ตำบลบางงาม ภายใต้ชื่อร้านว่า “ภาณุลักษณ์การเกษตร” โดยฝีมือและนวัตกรรมทางการผลิตส่งผลให้กลายเป็นสถานที่ค้าขายด้านนวัตกรรมเกษตรอย่างมากมาย เช่น เครื่องอัดฟาง,เครื่องทำความสะอาดมันสำปะหลัง,เครื่องอัดเปลือกข้าวโพด เป็นต้น ที่สำคัญครับที่นี่ยังมีการสั่งซื้อ-ขายอุปกรณ์การเกษตรโดยเฉพาะเครื่องอัดฟางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว อีกด้วย และที่สำคัญปู่หวันยังเคยได้รับรางวัลด้านภูมิปัญญาไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี  เมื่อปี 2547 เป็นการการันตีฝีมือ และความสามารถอีกด้วย  สามารถติดตามข่าวสารของ U2T RMUTP ได้ที่  https://www.facebook.com/u2t.rmutp/หากสนใจข้อมูลของเครื่องอัดฟางเพิ่มเติมสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/AnnPanuluk

U2T ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ของมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก ได้นำอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ลงพื้นที่ไปให้ความรู้แก่คนในชุมชน เพื่อยกระดับสินค้าด้วยเทคโนโลยี สู่การเป็นต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าที่กำลังนิยมในปัจจุบันผู้นำชุมชนในตำบลห้วยยาง เริ่มเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เพิ่มความสะดวก ลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพียงมีสมาร์ทโฟน และอินเตอร์เน็ตก็สามารถ เปิด-ปิด สวิตช์ไฟ เปิดสปริงเกอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ และความชื้นได้ทุกที่ ทุกเวลาเพื่อก้าวสู่การเป็น “สมาร์ทฟาร์ม” หรือเกษตรอัจฉริยะจรัญ ปฏิบัติ ผู้ใหญ่บ้านเขาชะกรูด ตำบลห้วยยาง จังหวัดระยอง ได้กล่าวว่า “การทำสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ระบบ IOT สอนการทำน้ำหมัก และได้ความรู้เพิ่มเติมรวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นประโยชน์มาก ๆ มีกิจกรรมหลายๆ อย่าง เช่น การสอนแปรรูปผลไม้ การทำผลิตภัณฑ์วัสดุเหลือใช้ เป็นต้น เพื่อเป็นการต่อยอดให้ชาวบ้านคิดว่าจะทำโครงการอะไร อยากจะได้ความรู้เกี่ยวกับอะไร ทางโครงการก็หาวิทยากรมาให้กับความรู้กับพวกเรา”ผศ.ดร.มณีรัตน์ ภารนันท์ หัวหน้าโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออกได้กล่าวว่า “ทางเราได้สอนให้ทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมให้เป็นเกษตรอินทรีย์ น้ำหมักมูลไส้เดือนเราสอให้เลี้ยงไส้เดือน แล้วเอามูลไส้เดือนมาทำน้ำหมัก และขายมูลไส้เดือนด้วย เรามีพืชผลเกษตรที่ตกหล่นอยู่มาหมัก ทำปุ๋ยหมักขายได้ด้วย เราทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนนม เยอะมาก 12 อย่าง นอกจากนี้เรายังเอาขยะมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ขายได้ เช่น กระถางจากปุ๋ยมะพร้าวเอามาขายกระถางละ20 บาท ส่วนผ้าที่เหลือเราเอามาเย็บเป็นพรม กากกาแฟจากร้านค้าต่าง ๆ ที่ขายกาแฟในบริเวณนี้มาทำเป็นสบู่กาแฟ ทำเป็นเทียนจากกาแฟ ทำเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่างมากจากกากกาแฟ”แล้วยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มช่องทางการตลาด โดยเฉพาะขายสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน โดยการไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กขอบคุณคลิปข้อมูลจากโมเดิร์นไนน์ทีวีสามารถติดตามข่าวสารของU2T ราชมงคลตะวันออกได้ที่ https://www.facebook.com/U2T-ราชมงคลตะวันออก                                                                      

ทีม U2T ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้นำเสนอสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ชาวบ้าน และทางทีมได้ร่วมกันทำเพื่อส่งเสริม และพัฒนารายได้ให้กับชุมชน ซึ่งผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วย1.ยาดมสมุนไพร มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิด มีความหอมจากการบูร และน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดที่ได้ผสมลงไป เพื่อให้หอมสดชื่นทุกครั้งที่ได้ดม มีสรรพคุณ ช่วยลดการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ราคา กระปุกละ 35 บาท 3 กระปุก 100 บาท2. ลูกประคบสมุนไพร มีส่วนประกอบของสมุนไพรนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไพล แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ ใบส้มป่อย ช่วยบำรุงผิวแก้โรคผิวหนัง ลดความดัน และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย เพียงแค่นำลูกประคบไปนึ่งเพื่อให้ความร้อน แล้วนำไปประคบบริเวณที่มีการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก อาการเล่านี้ก็จะทุเลาลง และหายได้ ราคาลูกละ 40 บาท3. ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง ให้กลิ่นหอม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ จะได้กลิ่นหอมของตะไคร้หอม และยังสามารถไล่ยุงให้กระเจิงได้อีกด้วย  ไม่ต้องทนเหม็นกับยากันยุงอีกต่อไป ถ้าได้ใช้ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุงราคากล่องละ 20 บาท สนใจติดต่อได้ที่ เพจ : 1ตำบล 1มหาลัย ตำบลพลายชุมพล หรือโทร 0823959157 หรือ0875248147 ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/ตำบล พลายชุมพล

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ทางทีม U2T ตำบลสบป๊าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการทำ “โปรตีนบาร์จากจิ้งหรีด” ซึ่งได้ปรับสูตรของขนม โดยการนำจิ้งหรีดที่ผ่านกระบวนการคัดสรรจากสวนครูเรณูนำมาปั่นผงละเอียด เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น โดยทางทีมงานได้ลงพื้นที่ไปเก็บจิ้งหรีดสด ๆ จากสวนครูเรณูอีกด้วยการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปธัญพืชบาร์จิ้งหรีด เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางเกษตรของชุมชน ซึ่งเป็นการแปรรูปสิ่งที่มีในท้องถิ่นขึ้นใหม่ และไม่มีในท้องตลาด เพื่อสร้างรายได้ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมามีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นอาหารที่มีประโยชน์จากวัตถุดิบที่ได้เลือกใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นแถมยังรับประทานง่ายขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://web.facebook.com/U2T-ตำบลสบป๊าด

เสริมกำลังทัพ ให้กำลังใจ กองหนุน U2T ใน ภารกิจพิเศษ "ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด-19"

บ้านแม่ละนา ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และป่าไม้ที่สลับซับซ้อนที่อุดมสมบูรณ์มีที่ราบระหว่างภูเขาเพียงเล็กน้อย ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำที่สวยงาม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานเกือบ 200 ปี มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ รวมถึงเหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเงียบสงบ และใกล้ชิดกับธรรมชาติระหว่างทางไปถ้ำแม่ละนานั้น พบว่ามีภูเขาสูงเป็นหินปูน หากขึ้นไปยังจุดยอดแล้วสามารถมองเห็นวิวของชุมชนได้ 360 องศาแต่สภาพทางขึ้นนั้นเต็มไปด้วยหิน ปูน และกิ่งไม้ขวางทางเดินขึ้นไป หากได้รับการพัฒนาบริเวณดังกล่าว จะสามารถเกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่สามารถชมวิวได้ 360 องศาโดย U2T ปางมะผ้าได้ไปปรับภูมิทัศน์บริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่สามารถชมวิวได้ 360 องศา ช่วยทำให้นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัย รักความสงบ และใกล้ชิดกับธรรมชาติ เดินทางมายัง บ้านแม่ละนาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจโฮมสเตย์ ธุรกิจอาหาร  การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และสินค้าของชุมชน รวมถึงธุรกิจการบริการอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของตำบลปางมะผ้าดียิ่งขึ้นขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://web.facebook.com/U2T-ปางมะผ้า                                                                  

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ทางสมาชิกกลุ่ม U2T แขวงลาดพร้าว ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ออกเยี่ยม และแจกของให้กับผู้ป่วยติดเตียง ของศูนย์ประสานงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ (ศปง.อพม) ณ ซอยลาดปลาเค้า 55ความทุกข์ยาก และความเดือดร้อน ที่ไม่อาจบอกใคร อพม. เขตลาดพร้าว ร่วมกับ U2T ลาดพร้าว เดินทางไปเยี่ยมเยือนถามไถ่ในซอกเล็ก ๆ ท้ายซอย ที่หน่วยงานเข้าไม่ถึง มีผู้ยากลำบาก ที่ไม่เคยปริปากร้องขอใครช่วยเหลือ เพื่อมอบความหวัง และเป็นส่วนหนึ่งในการทำสิ่งที่มีค่าแก่ผู้คนที่ลำบาก และด้วยการชี้เป้าของ ทีมงาน อพม. จึงได้เข้าเยี่ยม และมอบสิ่งของที่สามารถต่อเติมความสุขของประชาชนในแขวงลาดพร้าว ดังนั้น อพม.เขตลาดพร้าว จึงได้เข้าช่วยเหลือในเบื้องต้น และรับรู้ถึงเรื่องราวเพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินงานการช่วยเหลือต่อไปขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://web.facebook.com/U2TLatPhrao

คลองวาฬเป็นตำบลเล็ก ๆ ทีอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ชุมชนที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และติดอยู่ริมทะเลโดยสถานที่ท่องเที่ยวที่แรกคือ สะพานเก่าคลองวาฬ โดยจุดนี้เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมักมาชมวิวชมวิวทะเล ถ่ายภาพ ต่อมาคือร้านข้าวต้มปลา จุดเด่นของร้านนี้ที่แตกต่างจากร้านข้าวต้มปลาร้านอื่น ๆ คือร้านนี้จะมีหมูปิ้งเหลือง และปลาย่างหวานซึ่งปลาจะทำมาจากปลาโอ ราคาเพียงชามล่ะ 10 บาทเท่านั้น ร้านเปิดตั้งแต่เที่ยงเป็นต้นไป ช่วงเย็นจะมีร้านรถเข็นริมทาง (street food) เริ่มตั้งร้านตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่มโดยประมาณ โดยร้านค้าที่น่าสนใจคือ ร้านขนมกะลอจี๊ ซึ่งเป็นขนมของชาวจีนทำมาจากแป้งข้าวเหนียวกวนกับน้ำ แล้วจากนั้นจะนำไปนึ่ง สุดท้ายจะนำไปคลุกด้วยงา และน้ำตาลในราคาถ้วยละ 20 บาทเท่านั้นในเมืองประจวบคีรีขันธ์ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งให้แวะชมอีกมากมาย ถือว่าเป็นตำบลที่น่าสนใจที่เราไม่ควรมองข้าม เหมาะสำหรับการพักผ่อน รวมถึงชาร์จพลังให้กับคนทีต้องทำงานหนักถือว่าเป็นชุมชนที่ไม่ควรพลาดของเมือง”ประจวบ”เลยล่ะขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://www.youtube.com/watch                                                                 

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 คณะทำงาน U2T ตำบลทุ่งฝาย ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งฝาย สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง และคณะกรรมการหมู่บ้านท่าโทกมงคลชัยได้ดำเนินการจัดเวที "ข่วงกำกี๊ด" ครั้งที่ 1  พูดคุยหารือเรื่องการดำเนินโครงการ ผักปลอดสารอาหารปลอดภัย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ณ หมู่บ้านท่าโทกมงคลชัย หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปางมีวัตถุประสงค์ดังนี้1.เพื่อทบทวนงานพัฒนาชุมชนบ้านท่าโทกมงคลชัย ความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน2.เพื่อร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์การทำงานพัฒนา แหล่งเรียนรู้ผักปลอดสารอาหารปลอดภัยในชุมชน3.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคนในชุมชน และหน่วยงานภาคีพัฒนาชุมชนต้นแบบตำบลทุ่งฝาย4.เพื่อสร้างแนวคิดการพัฒนาสถานที่ในชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงชุมชนสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ พืชผักที่ไม่ปลอดสารพิษแนวทางในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการส่งเสริมการปลูกผัก เพื่อบริโภคในครัวเรือนการปลูกผักปลอดสารพิษแบบอินทรีย์โดยลดการใช้สารเคมีในผัก คณะทำงาน U2T ตำบลทุ่งฝาย ได้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อให้คนในชุมชนได้รับประทานพืชผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและสามารถสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วยการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามมาตรการการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://web.facebook.com/U2T.Thungfai

เมื่อวันที่ 16/07/2564  U2Tตำบลถ้ำกระต่ายทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำกระต่ายทอง ได้ลงมือทำศูนย์พักพิง โรงพยาบาลสนาม หรือ สถานที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  ณ บริเวณภายในขององค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำกระต่ายทอการระบาดของโควิด-19 ในรอบนี้ ได้แพร่กระจายมีคนติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโรงพยาบาลสนาม เพื่อให้มีจำนวนเตียงเพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อลดอัตราเสี่ยง การแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น หรือควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกนอกพื้นที่ ซึ่งการมีโรงพยาบาลสนาม จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยโควิด-19 อย่างสูง เพราะโรงพยาบาลสนามไม่ได้รับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก แต่จะดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่มาก และคอยสังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะมีกระบวนการส่งต่อที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่แพร่กระจายเชื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ดูแลจากโรงพยาบาลที่มีศักยภาพโดยเร็วที่สุดขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://www.facebook.com/aobotoTamkataithong https://www.thaihealth.or.th

U2T ตำบลบางขันแตกได้นำเสนอผลการดำเนินงานความก้าวหน้าของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม จากการสำรวจความต้องการของประชาชนในบางขันแตก พบว่า ความต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. พัฒนาสินค้า OTOP 2.ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ 3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทีมงานตำบลบางขันแตกจึงได้วางแผนจัดโครงการ 5 โครงการ ดังต่อไปนี้1.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าว มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์จากโรงน้ำตาลมะพร้าวสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้น้ำตาลมะพร้าวพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลมะพร้าวในรูปแบบต่าง ๆ และเผยแพร่องค์ความรู้แก่ชาวบ้าน2.โครงการอบรมการขายสินค้าออนไลน์ การขายสินค้าออนไลน์ในยุคนี้เป็นเรื่องที่ผู้ขายจะต้องปรับตัว และตามให้ทันเราจึงจัดอบรมการขายสินค้าออนไลน์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับสินค้าที่มีอยู่ในตำบล เพื่อขยายตลาดสู่โลกออนไลน์3.โครงการกูรูชวนสู้โควิด จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง4.โครงการความรู้กฎหมายสู้ชุมชนบางขันแตก ได้จัดทำหนังสือให้ความรู้กฎหมายเบื้องต้น และจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายด้วยการยกตัวอย่างจากสถานการณ์จริง5.โครงการพัฒนาทักษะงานฝีมือสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการสร้างรายได้เสริมแก่ครัวเรือนมีกิจกรรมให้ผู้สูงอายุสามารถทำได้ แม้อยู่ที่บ้าน อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในตำบลอย่างคุ้มค่าขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก https://web.facebook.com/U2TBangkhuntaek                                                                         

“พลิกวิกฤตโควิด-19 เป็นโอกาส” ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นโอกาสทองของทีมตำบล ที่ทำให้เห็นถึงศักยภาพที่แท้จริงของพี่น้องชาว U2T ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และชีวิตที่ดีขึ้นในชุมชน

คณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้ลงพื้นที่สำรวจพฤติกรรม การตื่นตัว และการตระหนักรู้เรื่องการป้องกันตัวเองต่อการระบาดโรคโควิด-19 ของชุมชนในพื้นที่ตำบลนาแส่ง ผลการสำรวจส่วนใหญ่พบว่าในชุมชน มีการป้องกันตัวเองที่ถูกต้อง โดยคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางที่รับผิดชอบพื้นที่ ได้มีการรวบรวมผลการสำรวจไปยังส่วนกลาง เพื่อกำชับให้มีการเข้มงวดต่อไป ซึ่งการสำรวจดังกล่าวมีการดำเนินการสม่ำเสมอทุกเดือน ตามมาตรการของประเทศ และเพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างความตระหนักรู้ พร้อมทั้งพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติสำหรับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลนั้น เป็นโครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่จะช่วยสร้างรากแก้วให้ประเทศ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมและทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพื้นที่และพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะได้นำโจทย์หรือปัญหาของพื้นที่มาสู่การพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านกำลังคน องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในตำบลที่รับผิดชอบขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.facebook.com/U2T-ตำบลนาแส่ง

ทางทีม U2T ตำบลบ้านคลองจัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการประกอบอาชีพสร้างโอกาสในการหารายได้ สู้โควิด-19 เรื่อง "ทาร์ตลอนตาลมะพร้าวอ่อน และเค้กลอนตาล" ในวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2564 ณ วัดไก่เขี่ย ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพชุมชนเมือง ต่อยอดการผลิต ส่งเสริมการสร้างรายได้ ส่งเสริมทักษะอาชีพสู่ช่องทางสร้างรายได้ให่แก่ประชาชน สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการต่อยอดเพื่อหารายได้ในสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วยขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/ตำบล บ้านคลอง

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ตัวแทนทีม 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย U2T สถานพลัส ร่วมกับศูนย์จัดการเครือสุขภาวะชุมชนตำบลสถาน (ศจค.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถาน จัดกิจกรรมตรวจสารพิษในเลือดในกลุ่มประชาชนตำบลสถานโดยมีคุณหมอสุพจน์ วิชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถานเป็นผู้นำขับเคลื่อนการดำเนินงาน  และภายหลังจากการตรวจ รวมถึงทราบผลแล้วทางทีมศูนย์จัดการเครือสุขภาวะชุมชนตำบลสถาน ได้ร่วมหารือกับทางคุณหมอเพื่อร่วมกันออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดการปัญหาต่อไปขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/Sathanplus

มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ที่เข้าไปมีส่วนช่วยเหลือชุมชนตามโครงการมหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T รับผิดชอบพื้นที่ 40 ตำบล ใน 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี ในส่วนของกรุงเทพมหานครนั้นด้วยเหตุที่เป็นชุมชนเมืองจึงมีบริบทการทำงานต่างไปจากชุมชนต่างจังหวัดการทำงานแบ่งออกเป็นหลายมิติ เช่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP, พัฒนาการท่องเที่ยว, พัฒนาด้านสิ่งเเวดล้อม , และการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยทุกโครงการจะมีที่มาจากความต้องการของคนในชุมชนเป็นหลักจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอย่างหนักในตอนนี้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้เจ้าหน้าที่ ๆ ได้รับการจ้างงานในโครงการนี้เข้าไปมีส่วนร่วมช่วยเป็นอาสาสมัครในจุดบริการฉีดวัคซีนเพื่อคอยให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้มารับบริการผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กล่าวว่า "เราก็คิดว่าเขาน่าจะทำประโยชน์ให้กับประชาชนได้ในช่วงนี้ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ลงพื้นที่ของโครงการเต็มตัว บางช่วงบางเวลาเขาก็ไปอาสา เป็นจิตอาสา ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มารับวัคซีน ก็ถือว่าเราได้ใช้ประโยชน์จากลูกจ้าง อว.  ของเราไปทำงานได้เต็มศักยภาพ และในขณะเดียวกันงบประมาณบางส่วนเราก็ปรับรูปแบบไปช่วยเหลือประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดโควิด เช่น ไปหาหน้ากากอนามัยก็ดี เจลก็ดี หรือแม้กระทั่งชุด PPE ในการปฏิบัติการของชุมชน ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นประโยชน์ คุ้มมาก ๆ ประชาชนเขาก็ประทับใจ"ขอบคุณวิดีโอข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย TNAMCOT                                                       

ทีมงาน U2T LPRU มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ตำบลนาโป่ง และ อบต. นาโป่ง ร่วมกับชาวบ้านบ้านสันหลวง หมู่ที่ 1 จัดโครงการจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้านและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง องค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง และชาวบ้านบ้านสันหลวง หมู่ที่ 1 จัดโครงการจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้าน และปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2564กิจกรรมดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชากร รวมทั้งเป็นการสนองแนวทางตามพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมใจพัฒนาหมู่บ้าน ตัดหญ้า ทำความสะอาดหมู่บ้านและปลูกต้นทองอุไรบริเวณไหล่ทางถนนบริเวณวัดสันหลวง จำนวน 90 ต้นขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/U2Tlpru

ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของลำห้วย ลำคลอง ที่ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตร อีกทั้งอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำกิ่วหญ้าแทน อ่างเก็บน้ำตาผ้าขาว อ่างเก็บน้ำห้วยแม่กองค่าย และอ่างเก็บน้าห้วยแม่รำพัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาปลาชุกชุมตลอดทั้งปี สามารถหารายได้เพิ่มจากการทำการเกษตรได้อีกทาง แต่คนในชุมชนกลับยังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มาเนิ่นนาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเกษตร ผลผลิตราคาตกต่ำ หนี้สินครัวเรือน คนวัยทำงานต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ต่างประเทศ จึงเหลือเพียงเด็กและผู้สูงวัยอยู่บ้าน ส่วนบัณฑิตจบใหม่เมื่อกลับมายังบ้านเกิดก็ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งกลายเป็นวงจรของปัญหาที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการว่างงาน ฯลฯ เมื่อทีม U2T ตำบลตลิ่งชัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา จังหวัดตาก ลงพื้นที่สำรวจชุมชน พร้อมหารือแบบบูรณาการร่วมกันกับนักวิชาการ ผู้นำชุมชน คนในชุมชน จึงเห็นพ้องตรงกันว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยนำทรัพยากรที่มีจำนวนมากในชุมชนอย่างปลามาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการถนอมอาหารที่มีคุณภาพ ทั้งนี้มีการจัดฝึกอบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก เพื่อให้ความรู้ในการแปรรูปวัตถุดิบ ตั้งแต่การคัดสรร การจัดเตรียมวัตถุดิบ การทดลองสูตร เทคนิคการทำน้ำพริก การทำปลาส้ม การนำปลาร้ามาพัฒนาต่อยอดเป็นน้ำพริกปลาร้าหรือแจ่วบอง โดยมีส่วนประกอบคือ ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ใบมะกรูด ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ปลูกกันทุกครัวเรือนอยู่แล้ว และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลามากขึ้น เพื่อรองรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์แจ่วบอง ชุมชนมีอาชีพเสริม มีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปีนอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมการเลือกบรรจุภัณฑ์ก่อนส่งไปจำหน่ายยังร้านค้าในชุมชน และทางออนไลน์เพื่อให้มีตลาดรองรับและเกิดการกระจายสินค้า มีผู้บริโภคมากขึ้น รวมถึงฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการต้นทุน การจัดทำบัญชี อย่างครบวงจร การเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรม นอกจากเป็นการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพ มาตรฐานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นและนำทรัพยากรที่โดดเด่นของชุมชนมาสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง.ขอบคุณภาพจาก https://mgronline.com

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์(พณ.) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ จัดโครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (From Gen Z to Be CEO) โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ เป็นผู้ประกอบการ หวังเกิดการเรียนรู้กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศสู่เศรษฐกิจโลก พร้อมถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าแบบยุคดิจิทัลให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิต New Normalโดยการจัดโครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ในครั้งนี้ ได้รับรับเกียรติจากจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และนักศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 16,000 คน ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom ในการนี้ท่านจุรินทร์ได้ให้โอวาทพิเศษแก่ผู้ได้รับการจ้างงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ประกอบการ ผู้สนใจ ผู้ประกอบการ Gen Z จากภูมิภาคใต้ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวนกว่า 4,000 ราย เพื่อเรียนรู้การค้าและศึกษากลยุทธ์บนระบบออนไลน์ ให้เกิดความเหมาะสมและตอบสนองความต้องการแก่นักศึกษาทุกสาขาวิชา สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านรูปแบบ E-Learning หรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ True VLearn จากองค์กรผู้นำด้านดิจิทัลระดับประเทศ อย่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชนขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/UniversitytoTumbonSRU

“จุดอ่อนและปัญหามีไว้ให้แก้ไข” เมื่อทีมนิคมโพเทีย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่ชุมชนในตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พบปัญหาหลายด้าน จึงร่วมประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำชุมชนและคนในชุมชนเพื่อร่วมกันขับคลื่อนแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจของคนในชุมชนด้วยความที่คนในชุมชนส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสาน ดังนั้นวัฒนธรรมส่วนใหญ่จึงสืบสานมาจากภาคอีสาน เฉกเช่นผ้าทอ มรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น แต่ผ้าทอของกลุ่มซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นยังขาดความน่าสนใจและช่องทางการจัดจำหน่าย ทีมนิคมโพเทียจึงได้เข้าไปร่วมพัฒนาลายผ้า โดยนำเทคโนโลยีการพิมพ์ผ้าแบบสีระเหิด (Sublimation) ตลอดจนร่วมออกแบบกระเป๋าผ้าทอ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเข้ากับยุคสมัย พร้อมทั้งจัดวางระบบร้านค้าชุมชนใหม่ทั้งระบบการเงิน บัญชี สต๊อกสินค้า แผนการตลาดในการจำหน่ายผ่านช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ แผนการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีตลาดรองรับ ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมอาชีพ โดยจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการฝึกพัฒนาช่างชุมชนและจัดตั้งศูนย์ช่างอาชีพชุมชนสำหรับผู้ว่างงานที่โดนผลกระทบจากโควิด-19 และกลุ่มเปราะบางที่ออกจากเรือนจำ เพื่อยกระดับช่างฝีมือชุมชนในทุกหมู่บ้านและต่อยอดสร้างรากฐานให้มั่นคง โดยมีหลักสูตรช่างติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร หลักสูตรช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และหลักสูตรช่างซ่อมรถจักรยาน/รถจักรยานยนต์ พร้อมทั้งส่งเสริมการสอบใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในกรณีช่างที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ อีกทั้งส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานให้กับชุมชนอื่น ๆ นำไปใช้ได้ในส่วนของโรงผลิตน้ำดื่มที่ประสบปัญหาการบริหารจัดการ ทางทีมนิคมโพเทียก็ได้เข้าไปจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารจัดการภายใน และถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการผลิตน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานเพื่อปรับโรงน้ำให้ได้มาตรฐานเพื่อสุขภาวะที่ดีแบบยั่งยืน นี่จึงคือความงดงามของนักศึกษาและคนในชุมชนที่ร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาเพื่อยกระดับชุมชนของตนเองให้ดีขึ้นในทุกมิติ.

ทั้ง ๆ ที่อยู่ในอำเภอแม่สอด มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่แพ้แม่สอด อีกทั้งมีความน่าสนใจในเรื่อง “ชนชาติพันธุ์” ที่มีทั้ง กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ และชนพื้นเมืองของไทยอาศัยอยู่ร่วมกัน แต่ตำบลด่านแม่ละเมากลับเป็นเพียงแค่ “ทางผ่าน” ดังนั้นทีม D.E.T (เด็ด) ซึ่งย่อมาจาก Dan Maelamao Ethnic Tourism การท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ ด่านแม่ละเมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดตาก จึงลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลแล้วนำมาสังเคราะห์จนได้ข้อสรุปในการชูประเด็นเรื่องความโดดเด่นอันเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนชาติพันธุ์ ทั้งภาษาพูด การแต่งกาย ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิต โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในการขับเคลื่อน ด้วยสโลแกน “การท่องเที่ยวทำคนเดียวไม่ได้ การท่องเที่ยวทำคนเดียวไม่เท่ห์ ” เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศทั้งในและต่างประเทศรู้จักและอยากเดินทางมาเยือน พร้อมสร้างอาชีพให้กับชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตขึ้นกว่าเดิมทีม D.E.T (เด็ด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดตาก เริ่มนำทีมผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ให้แก่ชุมชน เพื่อให้ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ไขปัญหาเป็น” โดยนำอัตลักษณ์ของชุมชนมาสร้างเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวและบอกต่อจนมีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังเสริมรายได้ให้กับชุมชนด้วยการพัฒนาต่อยอดสินค้าชนชาติพันธุ์ เพื่อให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือชุมชนต้องสามารถดำเนินการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ต่อได้แม้ไม่มีทีม D.E.T (เด็ด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดตาก เป็นพี่เลี้ยงแล้วก็ตาม อีกทั้งยังสามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ได้เข้ามาศึกษา เรียนรู้ เพื่อนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนของตนเองได้เรียกได้ว่า ทีม D.E.T (เด็ด) เขามีทีเด็ด ไม่แพ้ทีมอื่นอย่างแน่นอน รอลุ้นกันว่าทีมนี้จะมีทีเด็ดอะไรมาปล่อยในรอบชิงแชมป์ประเทศไทย โปรดติดตาม

ปัญหาขยะในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559 พบว่ามีขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.06 ล้านตันต่อปี คิดเป็นประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ยังไม่รวมขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตันไม่ต่างจากตำบลท่าบัว อาเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ซึ่งพบปัญหาขยะปริมาณถึง 53 ตัน/วัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนเป็นอย่างมาก ในขณะที่ประชาชนในตำบลท่าบัวยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ทีม U2T ท่าบัว วิทยาลัยชุมชน จังหวัดพิจิตร จึงระดมทีมลงพื้นที่สำรวจ ร่วมหาแนวทางแก้ไข ภายใต้แนวคิดหลัก หมู่บ้านโมเดลในการบริหารจัดการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน และจะนำไปสู่ตำบลโมเดลในอนาคต โดยเริ่มจากผู้นำท้องถิ่นต้องเข้าใจปัญหาและนำองค์ความรู้ในการจัดการขยะในครัวเรือนมาถ่ายทอดสู่คนในชุมชนในการบริหารจัดการขยะจากต้นทางไปสู่ปลายทางโดยคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านทางประชาคมหมู่บ้าน สร้างแรงจูงใจเพื่อให้ประชาชนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน โดยทำประชามติในชุมชนเพื่อทำประกันชีวิตกลุ่ม โดยมีเงื่อนไขต้องจัดการขยะในครัวเรือนอย่างถูกต้องและเคร่งครัด และทางองค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรรงบประมาณที่เหลือจากการจัดการขยะมาปันส่วนเป็นเบี้ยประกันครัวเรือนละ 20 บาท เงินเบี้ยประกันที่แต่ละครัวเรือนจะได้รับรวมเป็นเงิน 40 บาทต่อเดือน โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมซึ่งเป็นไปตามมติของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งทีมสมาชิกโครงการคัดแยกขยะ (ทีมตาวิเศษ) หลังจากเข้าร่วมเป็นสมาชิกการทำประกันชีวิตแบบกลุ่มแล้ว ทีมตาวิเศษที่มีความรู้ในการจัดการขยะจะถูกคัดเลือกตามความสมัครใจ เพื่อทำหน้าที่สำรวจการคัดแยกขยะแต่ละครัวเรือน ตลอดจนเป็นครัวเรือนแบบอย่างในด้านการคัดแยกขยะนอกจากนี้ยังปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนและคนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะในชุมชนและการคัดแยกขยะ รวมไปถึงการส่งเสริมให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ผ่านศูนย์การเรียนรู้การประกอบกิจการเพื่อสังคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาการจัดการขยะให้เหลือศูนย์ (Zero waste) ซึ่งกิจกรรมของศูนย์ฯมีทั้งการรับซื้อขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล หรือเศษอาหารจากครัวเรือน วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ มาเพิ่มมูลค่าเพื่อขายให้กับคนในชุมชนจนเกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตำบล อีกทั้งตำบลอื่นๆ สามารถเข้ามาเรียนรู้ ศึกษาดูงานแล้วนำกลับไปปรับใช้ในตำบลของตนเอง เพื่อความยั่งยืนด้านการบริหารจัดการขยะได้ นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษและตลาด Green Market เพื่อประสานความร่วมมือแบบครบวงจรการสร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่มิติอื่น ๆ อาทิมิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านการศึกษา ฯลฯ และเป็นหมุดหมายสำคัญยิ่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนขอบคุณภาพจาก https://web.facebook.com/U2T-ท่าบัว

ศึกการแข่งขัน U2T Hackathon 2021 ระดับภูมิภาคเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ(U2T) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) คัดเลือก 5 ทีม สุดท้ายไปรอแข่งขันชิงแชมป์ระดับประเทศ เสร็จสิ้นลงแล้ว ทีมเขาทอง Long Do มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ คือ 1ใน 5 ทีม ที่ชนะใจกรรมการ ด้วยการนำเสนอไอเดียเรื่องการใช้โซเชียลมีเดียในผู้สูงวัย และผู้ว่างงาน เนื่องจากตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีโครงการระบบแอพพิเคชั่นเขาทอง เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น ธุรกิจร้านค้า ภาคบริการ การจ้างงาน ระบบสุขภาพ ระบบการศึกษา ข้อมูลข่าวสารในตำบล การบริการของภาครัฐ ฯลฯ แต่ผู้สูงวัยในตำบลซึ่งมีจำนวนมากเรียกได้ว่าเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ (ร้อยละ 25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) กลับไม่สามารถเข้าถึงการใช้โซเชียลมีเดียด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดอุปกรณ์ ขาดความรู้ความเข้าใจ ปัญหาสายตา ฯลฯ ส่งผลให้ขาดโอกาสที่ดี อาทิ การเข้าถึงระบบสุขภาพ รายได้เสริม ฯลฯ ไปโดยปริยาย เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้ว่างงานดังนั้นทีมเขาทอง Long Do จึงจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงวัย คนว่างงาน ร้านค้า และข้อมูลระบบสุขภาพ เพื่อนำมาวิเคราะห์ และทำความเข้าใจ จากนั้นจึงให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจใหม่ในโลกโซเชียลมีเดียกับผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการ ผู้สูงวัยและญาติ ผู้ว่างงาน นอกจากนี้ทีมเขาทอง Long Do ยังแก้ปัญหาการเข้าถึงภาคบริการที่มีการใช้โซเชียลมีเดียด้วยการบูรณาการเชื่อมกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ว่างงานเข้าด้วยกัน โดยมีตัวกลางคอยประสานเชื่อมโยงผู้ว่างงานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจและพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มผู้สูงอายุหรือญาติของผู้อายุ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รู้ว่าระบบโซเชียลมีเดียมีประโยชน์อย่างไรเพื่อขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ผู้ว่างงานจะเข้าไปพูดคุยกับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การสั่งอาหาร การไปรับยาให้ผู้สูงอายุ การพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล ฯลฯ มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้สูงอายุเครียดกับการใช้เทคโนโลยีในเชิงลึก การพูดคุยทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีเพื่อน ไม่เหงา ได้สิ่งที่ต้องการโดยไม่ต้องรอคอยลูกหลานเพื่อไปทำให้ และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนผู้ว่างงานจะได้ค่าจ้างจากการบริการในทุกมิติจากผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์ผ่าน Business Model Canvas ในการวางแผนดำเนินการในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว อีกทั้งอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ การนำโมเดลของทีมเขาทอง Long Do มาใช้แล้วขยายไปสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจลอง(ทำ)ดูไม่น้อย.ขอบคุณภาพจาก https://web.facebook.com/เขาทอง

ด้วยวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งผูกพันและยึดอาชีพเกษตรกรรมมาเนิ่นนาน แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยน วิถีเกษตรกรรมก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ทำให้ชุมชนต้องปรับตัวตามจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะภาวะหนี้สินที่เกิดจากการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต ในขณะที่รายรับไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย รวมทั้งปัญหาสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชน อากาศไม่บริสุทธิ์ น้ำเสีย ปัญหาดินเสื่อมสภาพ อันเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากและต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ดินขาดแร่ธาตุสำคัญในการเพาะปลูก พืชเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งเกิดโรคในพืชมากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้บรรยากาศที่เคยม่วนซื่นของชาวบ้านกลับกลายเป็นหงอยเหงาโดยปริยายทีม U2T โคกกลางทีม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จึงระดมทีมทำงานมาร่วมประชุม วางแผนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัยตำบล ปราชญ์ชาวบ้าน หมอดิน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันอยู่ที่การนำวิถีชุมชนในรูปแบบเกษตรอินทรีย์กลับมาพลิกฟื้นในพื้นที่ตำบลโคกกลาง โดยนำกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาการให้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผสานเข้ากับภูมิปัญญาชุมชนเพื่อพัฒนาต่อยอดใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในพื้นที่มาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน ช่วยพลิกฟื้นคุณภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูก เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้ชุมชน ปรับสู่โหมดวิถีชีวิตพอเพียง ลดการพึ่งพาจากภายนอก พึ่งพาตนเองจากภายใน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สภาพแวดล้อมน่าอยู่ และยั่งยืนต่อไปจากนั้นจึงจัด 3 กลุ่มย่อย เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ โดยใช้งานวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดับ เรียนประยูรและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรธนะชัย ปฐมสิริวงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรื่องการคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในท้องถิ่น เพื่อควบคุมการเกิดเชื้อราก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma.spp) ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถยับยั้งโรคพืชได้หลายชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และสามารถเหนี่ยวนำกลไกการต้านทานโรคของต้นข้าวได้เป็นอย่างดี มาถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม จนได้สูตรปุ๋ยซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของตำบลโคกกลางที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ผ่านการทดลองและเห็นผลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ยังมีการฝึกสัมมาชีพ ขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยฝึกอาสาสมัครเกษตรกรต้นแบบจำนวน 33 คน จาก 11 หมู่บ้าน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนา จนสามารถนำชุดองค์ความรู้ประกอบด้วย หลักการ ทฤษฎี และวิธีการ ขยายผลไปยังครัวเรือนใกล้เคียง พร้อมพัฒนาต่อยอดปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน อาทิ กระชายขาว ฟ้าทะลายโจร ขิง ข่า ตะไคร้ หอมแดง เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาเป็นกระบวนการแปรรูปสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ ต่อไปในอนาคตไม่เพียงเท่านี้ ทีม U2T โคกกลางทีม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ยังต่อยอดด้วยการสร้างสรรค์โลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนำบั้งไฟซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตำบลโคกกลาง และสีม่วงเขียวซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มาหลอมรวมเป็นโลโก้ SRRU U2T ตำบลโคกกลาง พร้อมเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านช่องยูทูปและเพจเฟสบุ๊ก U2T ตำบลโคกกลาง เพื่อเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน ตลอดระยะเวลา 5 เดือน (กุมภาพันธ์ - มิถุนายน) ที่ผ่านมา ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ร่วมโครงการ ทั้งเกษตรกรต้นแบบ ส่วนราชการต่างๆ ที่พร้อมต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การขยายผลปุ๋ยอินทรีย์ การประกอบสัมมาชีพเพิ่มเติม การขยายผลสเปรย์แอลกอฮอล์สมุนไพรตะไคร้หอม ฯลฯ ซึ่งตรงกับหลักการดำเนินงานของทีม U2T โคกกลางทีม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่มุ่งหวังในการสร้างความยั่งยืน “วิถีเกษตร วิถีพอเพียง” อย่างแท้จริง.ขอบคุณภาพจาก https://www.matichon.co.th

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอำเภอกะสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองในราว พ.ศ. 1896 เมื่อเกิดศึกสงครามในครั้งนั้น ผู้คนจากเมืองนครธมจึงหนีทัพไทยเข้ามาสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ที่บ้านกระสัง จากรุ่นสู่รุ่น พร้อมกับมรดกทางวัฒนธรรมเขมรที่สืบทอดยาวนานมาจนถึงปัจจุบันเช่นเดียวกับตำบลลำดวน อำเภอกระสัง ก็เป็นชุมชนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรอันโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าไหม ดนตรีกันตรึม ประดิษฐ์กันชู ที่มีลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาย-หญิง ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านหลังสุดท้ายและคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ตำบลลำดวนยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งป่าชุมชนบ้านแซว บ้านโนนสว่าง ห้วยเจมิง โคกขวางตะวัน รวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญคือ ลำชี ลำห้วยจะบก แต่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างการทอผ้าไหมที่มีลวดลายและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นกลับไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากย้อมสีไม่ติดเส้นไหม สีไม่สม่ำเสมอ สีตก ในขณะที่ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติก็ไม่ได้ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เพราะชุมชนขาดความรู้ ความเข้าใจ ดังนั้นผการันดูลทีม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จึงลงพื้นที่จัดกิจกรรมสังเคราะห์ข้อมูล SWOT analysis ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายและผู้นำชุมชนทั้ง 18 ชุมชน ในการศึกษาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อหาทางสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งจากนั้นผการันดูลทีมได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย ผ้าไหมทอมือเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งเรื่องการย้อมสีเส้นไหมให้ติดทนนาน สีไม่ตก โดยใช้ของที่มีอยู่ในชุมชน การส่งเสริม พัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมให้มีความหลากหลาย พัฒนาการออกแบบลวดลายผ้าทอมือให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลลำดวนด้วยกระบวนการ Design Thinking อีกทั้งนำนวัตกรรมจากโปรตีนไหม 100% “เซริซิน” ซึ่งเป็นโปรตีนธรรมชาติที่ได้จากเส้นไหมหรือรังไหมมาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชน อาทิ สบู่เหลวซักผ้าไหม สบู่รังไหม เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ การรับรองมาตรฐาน (มผช.) และเพิ่มช่องทางการขายทั้งตลาดออฟไลน์และออนไลน์ในด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) มีการอบรมมัคคุเทศน์ในชุมชน การเขียนโฆษณาสินค้า การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว การดึงจุดเด่นที่มีในชุมชนมาสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อาทิ กิจกรรมพายเรือโบราณ กิจกรรมงมหอยจำบอง กิจกรรมเดินป่าล่าเห็ด กิจกรรมขี่ทุยลุยชี กิจกรรมวิถีขแมร์แฟชั่น กิจกรรมกันชู รูโชง กิจกรรมเห็นหนอนหนูไหม กิจกรรมทำสบูรังไหม ฯลฯ โดยเน้นการเสริมองค์ความรู้ให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนนี่จึงถือเป็นตัวอย่างอันดี ในการทำงานของนักศึกษาร่วมกับชุมชนแบบบูรณาการ โดยไม่ลืม “ราก” ที่มาที่ไป ซึ่งนับเป็นจุดแข็งที่จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากและชุมชนขับเคลื่อนไปพร้อมๆกันอย่างสมดุล.

นอกจากเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญสมัยอารยธรรมขอมอย่างพนมรุ้ง และเมืองต่ำ อีกทั้งศูนย์กีฬาขนาดใหญ่ระดับอินเตอร์ จังหวัดบุรีรัมย์ยังมีของดีอยู่ที่ผลไม้คุณภาพเยี่ยมได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผลไม้จากตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้หลากหลายชนิดที่อุดมสมบูรณ์ คุณภาพดีได้มาตรฐาน อาทิ ทุเรียน ลำไย ขนุน มะม่วง ฯลฯ สามารถส่งผลผลิตไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน น้ำ กอปรกับการดูแลรักษาด้วยองค์ความรู้และภูมิปัญญาของคนในชุมชนตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะขนุน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอปะคำ (ปี 2563) พบว่ามีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 337.92 ไร่ โดยแต่ละรายปลูกไม่น้อยกว่า 5 ไร่ ดังนั้นเมื่อผลผลิตไม่สามารถส่งออกได้จึงทำให้ปริมาณผลผลิตต่อการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งมีปริมาณล้นเกินทีมตะลุยเดิ่น...โคกมะม่วง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงร่วมกับกลุ่มเกษตรกรหาแนวทางแก้ปัญหา หมุดหมายหลักอยู่ที่การทำให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ สร้างรายได้และเศรษฐกิจในชุมชน มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการบริหารจัดกลุ่มวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ และประชาชนในพื้นที่มีความสุข สามัคคี คุณภาพชีวิตดีขึ้น เมื่อผ่านการขบคิดร่วมกัน คำตอบที่สามารถตอบโจทย์ได้คือการแปรรูปขนุน โดยชุมชนสามารถทำได้เอง และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก จากนั้นทีมตะลุยเดิ่น...โคกมะม่วงได้นำแนวคิดและฐานภูมิปัญญา ในการผสมผสานเทคโนโลยีด้านอาหารกับการแปรรูป มาแก้ปัญหาดังกล่าว เริ่มต้นที่การคัดเลือกขนุนที่เหมาะสมสำหรับนำมาทอด ตลอดจนการใช้น้ำมันและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทอด เพื่อให้มีเนื้อสัมผัสที่ดี ลดการอมน้ำมัน ทดสอบคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อผู้บริโภค อีกทั้งการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถรักษาคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาได้อีกทางหนึ่งด้วยนอกจากภูมิปัญญาชาวบ้านในการแปรรูปผลไม้ ทีมตะลุยเดิ่น...โคกมะม่วง ยังได้นำเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ทั้งสื่อภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว อินโฟกราฟฟิก สื่อด้านการตลาดดิจิทัล การเขียนคอนเทนต์ เล่าเรื่องที่น่าสนใจให้ผู้คนติดตาม โดยสร้าง “เพจตะลุยเดิ่น” มาเป็นสื่อกลางสอดประสานในการให้ความรู้แก่ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรด้านการตลาดออนไลน์ การเลือกใช้สื่อใหม่เพื่อส่งเสริมการขายในทุกช่องทาง อีกทั้งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างง่ายดายและรวดเร็วในขณะที่การบริหารจัดการกลุ่มผู้แปรรูปขนุนเพื่อการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีการบริหารจัดการบัญชีรายรับ-รายจ่าย กำหนดต้นทุนรายได้หลังหักต้นทุน และนำรายได้มาแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม โดยร้อยละ 10 เก็บไว้สำหรับเงินออม-ปันผล ร้อยละ 20 เก็บไว้เป็นต้นทุนผันแปร ส่วนอีกร้อยละ 70 เก็บไว้เป็นค่าแรงแต่ละครั้งในการแปรรูป นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงแหล่งผลผลิตทางการเกษตรของพื้นที่ จัดตั้งเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตเพื่อส่งให้กับกลุ่มแปรรูป จัดการช่องทางการตลาดในชุมชน วางแผนการสร้างแม่ค้าส่ง-ปลีก ให้กับกลุ่มแม่ค้าในชุมชนและแม่ค้าทั่วไป เพื่อให้มีรายได้เสริมกันถ้วนหน้าทีมตะลุยเดิ่น...โคกมะม่วง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของพลังแห่งคนรุ่นใหม่ที่เป็นสื่อกลางในการผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของที่พื้นที่ กับภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน เพื่อสร้างรายได้ สร้างความสามัคคี สร้างความสุข ให้กับชุมชน ได้อย่างลงตัว.

ที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร มีความพร้อมในหลายๆ มิติ แต่ด้วยวิกฤติโควิด-19 โครงการ U2T จึงได้เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพเพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคต ในอำเภอบ้านแพ้ว ประกอบด้วย 12 ตำบล ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา ได้เข้ามาดำเนินการโครงการ U2T นี้กระจายสู่ทั้ง 12 ตำบลที่บ้านแพ้วของขึ้นชื่อคือ “มะพร้าว” ทางโครงการ U2T จึงแปรรูปมะพร้าวให้มีการต่อยอดได้ อาทิ มะพร้าวผง, กาบมะพร้าวสู่กระถางต้นไม้ นอกจากนี้ในหลายๆ ตำบลยังประสบวิกฤติผักตบชวา จึงมีการขับเคลื่อนเเปรรูปผักตบชวา เพิ่มมูลค่า และนำวัสดุเหลือทิ้งมาแปรรูปให้เป็นของใช้ผศ.ดร.หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กล่าวถึงเป้าหมายสูงสุดของ U2T ว่า "เราจะมาขับเคลื่อนในรูปแบบใหญ่ ๆ นั่นคือการท่องเที่ยว เพราะว่าเมื่อเราได้ทำการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ นา ๆ แล้วเราก็จะมาบูรณาการรวมกัน แล้วก็เกิดเป็นตลาดน้ำชุมชนซึ่งตลาดน้ำชุมชนแห่งนี้จะมีการนำผลผลิตที่เราแปรรูปได้มาจำหน่ายช่วยกันสร้างรายได้ เราก็วางเป้าหมาย เราจะทำการสร้างตลาดน้ำชุมชนขึ้นมาในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์เพื่อให้มีเศรษฐกิจในชุมชนแล้วจะมีการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ตลาดน้ำแห่งนี้ เพื่อทำให้ทุกคนในชุมชนได้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้"ขอบคุณคลิปและข้อมูลจาก TNA MCOT สำนักข่าวไทย                                                                       

สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมะพร้าวซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ ทำให้ราคาตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีผู้ประกอบการรับซื้อ-ขายมะพร้าวเป็นจำนวนมาก เมื่อผลผลิตล้นตลาดชาวบ้านจึงนำมาใช้ประกอบอาหาร ทำให้เปลือกมะพร้าวเหลือทิ้งจำนวนมาก ประชาชนในพื้นที่กำจัดโดยการเผา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อม มลพิษทางอากาศ ทีมกระถางต้นไม้จากขุยมะพร้าว มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จึงลงพื้นที่สำรวจและศึกษาคุณสมบัติของเปลือกมะพร้าวพบว่ามีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดีและเก็บความชื้นได้นาน อีกทั้งย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จากนั้นจึงร่วมหารือกับชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขนำเปลือกมะพร้าวที่ไม่ใช้ประโยชน์มาสร้างให้เกิดคุณค่าใหม่อีกครั้ง โดยคิดค้นประดิษฐ์กระถางต้นไม้จากขุยมะพร้าวด้วยการใช้กระบวนการทำงานแบบไฮโดรลิก หรือเครื่องอัดขึ้นรูปด้วยทรงมือ โดยใช้ทรัพยากรที่มีทั้งดินหรือน้ำยางพารา, ใยมะพร้าว, เปลือกมะพร้าว, ขุยมะพร้าว, กาวแป้งเปียก (แป้งมันสำปะหลัง ) มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์กระถางต้นไม้จากขุยมะพร้าว ซึ่งสามารถนำไปใช้ปลูกต้นไม้ ลดการใช้พลาสติก ลดปริมาณขยะในชุมชน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถสร้างรายได้ให้คนภายในชุมชนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อีกด้วย.

เกษตรกรในชุมชนดั้งเดิมมีองค์ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และมีความชำนาญในการทำเกษตรปลอดสารเคมีที่ให้ผลผลิตสวยงาม สมบูรณ์ แต่ด้วยความไม่พร้อมในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวย การขาดอุปกรณ์ทำการเกษตร สภาพอากาศแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ฯลฯ ทำให้การทำเกษตรลดน้อยลง กอปรกับไม่มีการรวมกลุ่มกันของคนในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ อีกทั้งมีคนว่างงานจากสถาณการณ์โควิด-19 ที่กลับจากมาเลเซียเเละหันมาสนใจทำการเกษตรเเต่ไม่มีองค์ความรู้ จึงไม่สามารถขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรต่อไปได้ทีม Sayo Bana มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เล็งเห็นความสำคัญของการทำการเกษตร และต่อยอดเพื่อให้ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยเสนอเเนวคิดการทำระบบการจัดการน้ำเเบบหัวสปริงเกอร์ ที่ใช้ในแปลงการเกษตรขนาดใหญ่ และนวัตกรรมระบบเเรงดันอากาศ (air way) ที่สามารถทำขึ้นมาเองได้ เพื่อให้สามารถดันน้ำไปให้ทั่วถึงแปลงโดยไม่จำเป็นต้องจัดซื้อเครื่องยนต์ใหม่ที่มีแรงดันมากในราคาสูง เเต่สามารถใช้เครื่องยนต์ปกติที่มีอยู่ทำการเกษตรได้ อีกทั้งยังเผยแพร่องค์ความรู้การเพาะปลูกแบบสลับหมุนเวียนชนิดของพืชตลอดระยะเวลาทั้งปี และวิธีการเพาะปลูกพร้อมการบำรุงดิน โดยใช้เศษกากมะพร้าวเเละใบไม้เเห้งที่อยู่ในพื้นที่เข้ามามีบทบาทด้วยเพื่อลดการเเตกเเห้งของพื้นดินในช่วงหน้าเเล้งโดยทีม Sayo Bana ขอความอนุเคราะห์แปลงปลูกของกำนันในพื้นที่เพื่อให้ชาวบ้านทำการเกษตรฟรี และเป็นแปลงเกษตรตัวอย่างให้กับชาวบ้านในพื้นที่ รวมไปถึงการรวบรวมแนวคิดภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความรู้ทางการเกษตรในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม พร้อมสอนการติดตั้งระบบ การใช้งาน การทดลองระบบให้สมบูรณ์แบบ รวมไปถึงการจัดทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษร่วมกับเกษตรกรและชาวบ้านที่สนใจ ซึ่งการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษสามารถขยายตลาดในวงกว้างซึ่งจะสร้างรายได้ที่ดีให้กับชาวบ้าน นอกจากการทำเกษตรแปลงใหญ่ ทีม Sayo Bana ยังส่งเสริมให้มีการจัดวางระบบน้ำสปริงเกอร์ขนาดเล็กในบริเวณบ้านสำหรับเพาะปลูกพืชผักสวนครัวทานเองภายในครัวเรือนอีกด้วย โดยระบบน้ำมีความยืดหยุ่นตามขนาดแปลงเเละชนิดของผักที่ต้องการปลูก เเละไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงทั้งนี้ทางทีม Sayo Bana มีการติดตามการเพาะปลูก พร้อมให้ความรู้ทุกช่วงเวลาการปลูก รวมถึงสอนวิธีการใช้ การซ่อม การถอดเเละจัดระบบใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้เเละสามารถนำไปปฎิบัติเองได้ ทำให้ชาวบ้านมีเวลามากขึ้น เหนื่อยน้อยลง เเละสามารถขยายแปลงได้ในอนาคตเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ครอบครัว และลดรายจ่ายด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวทานเองควบคู่กับการดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน.

เมื่อโรคระบาดโควิด-19 โจมตี ส่งผลให้ทั่วทุกมุมโลกตกอยู่ในภาวะวิกฤตกันถ้วนหน้า ไม่ต่างจากวิสาหกิจชุมชน, กลุ่ม OTOP, กลุ่ม SMEs, และ Start-up รายย่อยต่าง ๆ ใน 3 ตำบล (ป่าไร่ ม่วงเตี้ย แม่ลาน) อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ที่โดนโควิด-19 พ่นพิษใส่ ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ รายได้หาย แต่ภาระหนี้เพิ่มจากปัญหาดังกล่าว ทีมแม่ลาน FRESHMART มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงร่วมหาแนวทางทำงานแบบบูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล “SMART Entrepreneur Model” มาใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผล โดยมี 5 องค์ประกอบหลัก คือ S : Social media การใช้สื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook Line เว็บบล็อก ทวิตเตอร์ ฯลฯ เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง เพราะสามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เข้าถึงง่าย รวดเร็ว ประหยัด สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งแบบข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ ทำให้การดำเนินธุรกิจคล่องตัวM : Marketing Tools การเลือกเครื่องมือทางการตลาด ที่เหมาะสม เช่น การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่ง เพื่อทำให้ผู้ประกอบการเลือกใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนA : Assistants หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน หรือสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล การทำการตลาดออนไลน์ เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา แนะนำด้านต่าง ๆ อาทิ การฝึกอบรมการใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของสมาร์ทโฟนเพื่อการทำธุรกิจ การช่วยพัฒนานวัตกรรมเว็บไซต์ตลาดกลาง (E-Marketplace) สำหรับผู้ประกอบการ ชุมชน การช่วยตั้งกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายการตลาด การสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนา ฯลฯR : Reviewer & Influencer การแนะนำผลิตภัณฑ์โดยผู้ใช้สินค้าหรือบริการ การถ่ายภาพของลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเพื่อนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลสูงสุดT : Technology Digital ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การบริหารคลังสินค้าและวัตถุดิบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวกสบายขึ้น รวมทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ยังได้จัดทำ “แผนธุรกิจเพื่อชุมชน” โดยพัฒนาผู้นำองค์กรชุมชนให้เกิดความเข้าใจ และเปลี่ยนวิธีคิดในการจัดทำธุรกิจของชุมชน จากการใช้ “เงินเป็นตัวตั้ง” มาเป็นการใช้ “ทุน” ที่เป็นปัจจัยทางการผลิตในการประกอบการ หรือการรู้จักใช้ “ปัจจัยการผลิต ที่ประกอบด้วย ธรรมชาติ ทุนที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น และหนึ่งสมองสองมือ” ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนมาเป็นตัวตั้ง และทำให้องค์กรชุมชนเกิดความมั่นใจว่า “องค์กรชุมชนสามารถจัดการธุรกิจได้ด้วยตนเอง” เป็นธุรกิจเพื่อชุมชน เพื่อคนในชุมชนท้องถิ่น เกิดการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งขยายผลด้วยการจัดตั้งชุมชนต้นแบบและศูนย์การเรียนรู้ด้านการนำรูปแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจในระดับชุมชนมาใช้ประโยชน์และประสบผลสำเร็จ รวมถึงจัดทำคู่มือสื่อให้ความรู้ด้านแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการให้กับชุมชนอื่น ๆ ที่สนใจ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ต่อไปแบบยั่งยืน.

“เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะ พากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด” คำขวัญประจำนครศรีธรรมราช ไม่ได้มีดีแค่เมืองพระ รุ่มรวยศิลปวัฒนธรรม และไอ้ไข่ แต่ใครจะรู้ว่า ผลไม้อย่างฝรั่งของชุมชนบางสุขขี หมู่ที่ 11 ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้ผลผลิตตลอดปีก็ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความอร่อยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว “เปลือกบาง รสชาติหวาน กรอบ” ด้วยความพิเศษของดินลุ่มน้ำปากพนัง หากแต่ยังคงพบปัญหาในหลายด้านทีม Happy Guava มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงลงพื้นที่สำรวจ รับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ก่อนจะหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ฝรั่งใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อทรัพยากรให้มากที่สุด แตกต่างจากคู่แข่งขัน ภายใต้ Model การพัฒนาอาชีพการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตที่ดำเนินการอย่างสอดคล้องตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรผู้ปลูกฝรั่งตามระบบเกษตร GAP และการขึ้นทะเบียนแปลงมาตรฐาน GAP ที่ใช้หลักวิชาการ ความรู้เทคโนโลยีมากขึ้น เป็นเกษตรสมัยใหม่ เกษตรอัจฉริยะ ผสมผสานภูมิปัญญาในท้องถิ่น จัดทำแปลงต้นแบบการใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ และปลอดภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบปลอดสารพิษ 100 % สู่ตลาดพรีเมี่ยม การแปรรูปที่มีมาตรฐาน อาทินำผลฝรั่งสดเกรดพรีเมี่ยมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เน้นผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพ เช่น ชาฝรั่งออร์แกนิค น้ำสลัดฝรั่ง ฯลฯ แปรรูปผลฝรั่งสดตกเกรดที่จำหน่ายไม่ได้ราคามาเพิ่มมูลค่าด้วยการทำเป็นฝรั่งแช่บ๊วยอบแห้ง ฝรั่งแช่อิ่มอบแห้ง ฝรั่งโรล ปรุงรสด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติ อีกทั้งออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ ส่งเสริมขยายช่องทางการตลาดในและนอกชุมชนทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างจุดขายด้านท่องเที่ยวและสร้างเรื่องราวอัตลักษณ์ของสินค้าเกษตรผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝรั่งบางสุข ยกระดับขีดความสามารถของอาชีพในชุมชนเพื่อให้เกิดอาชีพและรายได้ที่มั่นคงและผลผลิตที่เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่เพียงเท่านี้ ทีม Happy Guava ยังมีแผนในการพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม จัดทำคู่มือถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุต์ใช้ได้จริง อีกทั้งขยายผลผ่านเวทีระดับจังหวัด ประเทศ หรือ สื่อ โฆษณาประชาสัมพันธ์ และ สื่อ ออนไลน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด ขยายผลต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนอย่างแท้จริง.

เมื่อ วันศุกร์ ที่ 20 สิงหาคม 2564 ทีมงาน U2T ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมด้วยผศ.ดร.พิชิตร์ วรรณคำ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ร่วมกับศอ.จอส.พระราชทานอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พระครูโกศลพิพัฒนกุล เจ้าคณะอำเภอสูงเม่น พร้อมด้วย นายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอสูงเม่น นางชลธิชา ฟูบินทร์ นายกกิ่งกาชาดอำเภอสูงเม่น นางสาวนงลักษณ์ มะทะ ปลัดอำเภอสูงเม่นประจำตำบลสูงเม่น ลูกจ้างตามโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการอำเภอสูงเม่น (Tambon Smart Team) ร่วมกับนายกเทศมนตรีตำบลสูงเม่น สมาชิกชมรม กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน​ตำบลสูงเม่น อสม. และประชาชนชุดจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านไวรัสโควิด-19 ​ ณ วัดศรีสว่าง เขตหมู่ที่ 8 ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/U2T-สูงเม่น

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา เเละประชาชนในโครงการยกระดับเศรษกิจ เเละสังคมรายตำบลเเบบบูรณาการ ตำบลละแม ได้ร่วมกันจัดทำโครงการแยกขวดช่วย "ปันสุข" เปลี่ยน "ขวดเก่า" เป็นน้ำแข็งและน้ำดื่มร่วมแบ่งปันอย่างยั่งยืนในสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้การนำของ อาจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ หัวหน้าโครงการ ได้มอบหมายให้สมาชิกในโครงการบริหารจัดการสรุปจำนวนขวดที่ได้ในแต่ละสัปดาห์เพื่อนำเงินที่ได้จากการเเยกขวดไปซื้อน้ำเเข็งเเละน้ำดื่มร่วมบริจาคเเละเเบ่งปันใส่ "ตู้ปันสุข" ณ บริเวณหน้าอาคารสามัคคี มหาวิทยาลัยเเม่โจ้-ชุมพร ที่สมาชิกในโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรจัดตั้งขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังนำไปแจกจ่ายให้กับโรงเรียน วัด และชุมชนในพื้นที่ตำบลละแม เพื่อให้เกิดการบูรณาการและแบ่งปันอย่างยั่งยืนขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/mju2tlamae

เมื่อวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 ทางคณะเจ้าหน้าที่โครงการยกระดับรายตำบล 1 ตำบล1มหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม ได้มอบหน้ากากอนามัย,ชุดPPE,แอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อให้แก่ศูนย์พักคอยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม และได้จัดกิจกรรม 4P (Product,Packing,Price and Place) โดยมีวิทยากรจากอุตรดิตถ์ มาสอนวิธีการทำคุ้กกี้ และน้ำสมุนไพร รวมไปถึงฝึกซ้อมชุดการแสดงประจำตำบลบ้านป้อมให้กับเยาวชนในพื้นที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://web.facebook.com/U2tbanpom

ขอนแก่นเป็นจังหวัดใหญ่ ที่มีความเจริญหลั่งไหลเข้าสู่ตัวเมืองไม่แพ้เมืองใหญ่ในจังหวัดอื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ในตำบลอื่น ๆ ของจังหวัดขอนแก่นก็ยังคงยึดโยงอยู่กับวิถีชุมชนเกษตรกรรม เช่น ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่ 73.40 ตารางกิโลเมตร ชุมชนส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะกระบือมากกว่า 2,000 ตัว ซึ่งทำให้เกิดมูลกระบือส่งกลิ่นเหม็นรบกวน และส่งผลต่อการใช้พื้นที่ที่ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากปริมาณธาตุอาหารที่มีมากเกินไปจนเป็นพิษต่อพื้นที่นั้น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในอีกด้านมูลกระบือก็มีคุณสมบัติสำคัญคือ ปริมาณธาตุอาหาร รวมถึงจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นคนในชุมชุนจึงสามารถซื้อ-ขาย มูลกระบือ โดยมีพ่อค้าแม่ค้าคนกลางหรือผู้ที่สนใจรับซื้อในท้องถิ่นราคากระสอบละ 25-30 บาท (ต่อ 50 กิโลกรัม) เฉลี่ยมูลค่า 0.8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีมูลค่าต่ำ และเกินความต้องการของคนในชุมชนและท้องตลาด ดังนั้นคนในชุมชนจึงต้องการเพิ่มมูลค่าของมูลกระบือให้มีราคาสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนดังนั้น Vermi Team มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงนำประเด็นดังกล่าวข้างต้นมาพัฒนาหาแนวทางแก้ไข โดยนำนวัตกรรมที่ได้จากการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย ศูนย์เรียนรู้วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดินเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ สามารถเปลี่ยนแปลงอินทรีย์วัตถุให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และภายในปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินยังมีปริมาณสารสำคัญที่ช่วยให้พืชหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น เช่น สารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชบางชนิด นอกจากนี้การเลี้ยงไส้เดือนดินยังทำได้ง่าย ลงทุนต่ำ มีประโยชน์สูง สามารถทำได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนและในระบบฟาร์ม จึงเป็นที่สนใจของการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน Vermi Team จึงนำกระบวนการแปรรูปดังกล่าวมาแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน โดยส่งเสริมให้แปรรูปมูลกระบือเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่สร้างมูลค่าและใช้ในระบบการเกษตรได้จริง ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารเคมี อีกทั้งเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะมีราคาสูงถึง 35 บาท ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ Vermi Team มีระบบติดตามการเลี้ยงไส้เดือนดินและวิเคราะห์ธาตุอาหารในห้องปฏิบัติการเพื่อกำหนดมาตรฐานของปุ๋ยที่ได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมขยายผลไปยังกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยมีศูนย์เรียนรู้วิจัยและพัฒนาไส้เดือนดินเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ การเพิ่มมูลค่ามูลกระบือ และเป็นตลาดรับซื้อปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากเกษตรกรในชุมชุน นอกจากนี้ยังวางแผนด้านบรรจุภัณฑ์ วางกลยุทธ์ทางการตลาด ส่งเสริมการขายและใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเพื่อผลิตพืชผักไร้สารเคมี เป็นมิตรต่อสุขภาพ ขยายการผลิตเพื่อส่งเสริมรายได้ในชุมชน เพิ่มศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนกระบือไทยจึงไม่ได้มีคุณประโยชน์แค่ทำนา แต่มูลกระบือยังเพิ่มมูลค่าให้กับผู้คนได้อีกด้วย ฉะนั้นควรเชิดชู และอนุรักษ์กระบือไทยไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้ว่ากระบือไทยมีคุณค่ากว่าที่คิด.

จากผลการดำเนินงานโครงการ U2T ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กระทรวง อว. ได้ลงพื้นที่ฝังตัวกับชุมชนตำบลวังหว้า ร่วมวิเคราะห์ศึกษาปัญหาอุปสรรคของชาวสวนทุเรียน และประชุมระดมความคิดกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต.วังหว้า สนง.เกษตรอำเภอแกลง กลุ่มสมาชิกสภาชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร และวัฒนธรรมบ้านวังหว้า รวมถึงเกษตรกร และประชาชนจำนวนประมาณ 100 คน จึงได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับขยะอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกทุเรียน และปัญหาทุกมิติที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยวผลผลิต การขนส่ง และช่องทางการจัดจำหน่ายจึงเกิดเป็นโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคมแบบมีส่วนร่วม ดำเนินงานแบบการวิจัยและพัฒนา สร้างนวัตกรรมต้นแบบสินค้าจากขยะเปลือกทุเรียนและทุกส่วนของทุเรียนให้มีมูลค่าเพิ่ม ผลงานดังกล่าว ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่และกลุ่มวิสากิจชุมชนได้บรรจุเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 3 ฐานนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้แก่ 1. ฐานสร้างนวัตกรรมสินค้าจากทุกส่วนของทุเรียน 2. ฐานARส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิญวัฒนธรรม 3. ฐานIOT เกษตรสมาร์ทฟาร์ม และนำส่งประกวดในงาน Thailand Tourism Award 2021 (รางวัลกินรี) นอกจากนี้ได้ส่งประกวด U2T Hackathon และชนะเลิศในระดับภูมิภาคตะวันออก เป็น1ใน5 ทีมระดับภูมิภาคไปแข่งในระดับประเทศ ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนไปเผยแพร่ผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ทั้ง show case และ เผยแพร่บทความวิจัยจากการรับใช้สังคมของกิจกรรมU2T ผลการดำเนินงานทั้งหมดได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมวงกว้าง จึงมีการเปิดให้ มทร.ตะวันออก ร่วมกับ สนง.เกษตร ในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออก1 (EEC) ประกอบด้วย จ.ระยอง จ.ชลบุรี จ.ฉะเชิงเทรา เขียนโครงการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ใน EEC เข้าบรรจุในแผน งปม. ปี 2566และได้มีโอกาสนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ U2T สู่ที่ประชุม ซึ่งมีหน่วยงานในพื้นที่ EECที่เกี่ยวข้องจำนวนมากมาย รวมผู้ทรงคุณวุฒิ 200 คนได้เห็นความสำเร็จและความสำคัญของU2T

ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนปงยั้งม้า ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ออกรายการเรื่องเด็ดเอ็ดตะโร ทางช่องอัมรินทร์ทีวี สินค้าชุมชนวันนี้ ส่งตรงจากจังหวัดเชียงใหม่~ มีทั้งไดฟูกุนุ่มๆ คุกกี้ และผลิตภัณฑ์จากน้ำมันงาต่างๆ เรียกได้ว่าสินค้าวันนี้ ทั้งอร่อย เเละมีประโยชน์เลยล่ะครับ ห้ามพลาดเลยน้าาา!!!!สามารถสั่งสินค้าได้ที่ เรื่องเด็ดเอ็ดตะโร

ขยะได้เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน และกำลังกลืนกินความสวยงามของธรรมชาติ รวมถึงทำลายทรัพยากรของธรรมชาติ ขยะส่วนใหญ่เป็นพลาสติก รู้มั้ยว่าพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายกี่ปี ?ขวดพลาสติก และถุงพลาสติกใช้เวลาย่อยสลาย 450 ปี "Wastes Not Wait" เป็นโครงการที่ตำบลปากนครนำขยะเหลือใช้มาสร้างมูลค่าให้กลายเป็นของใช้โดยมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1. เพื่อลดปริมาณขยะขวดน้ำพลาสติกที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมและในครัวเรือน2. เพื่อลดขยะสะสมในพื้นที่ตำบลปากนคร3. เพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านตำบลปากนครจากขยะพลาสติกที่ไม่มีใครเห็นคุณค่าแค่ผ่านกระบวนการคิด และลงมือทำก็กลายมาเป็นของใช้ที่มีประโยชน์ลดขยะสะสมพลาสติกในพื้นที่ และยังสามารถเป็นช่องทางในการสร้างรายได้อีกด้วย

สวัสดีครับ วันนี้เราได้นำส่วนหนึ่งของผลงานในกิจกรรม U2T โพสต์นี้เพื่อทีมแพทย์ ที่ทีมตำบลต่าง ๆ ส่งผลงานมาใน Online Community บนเว็บไซต์ www.u2t.ac.th มาให้เพื่อนๆได้รับชมกันครับU2T ขอส่งกำลังใจให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักทั้งในโรงพยาบาล และคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ ขอให้ประชาชนช่วยกันให้ความร่วมมือกับการทำงานของทีมแพทย์ และเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน                                                                      

U2T - อว.ปลุกซื้อขายออนไลน์ ชุมชนคึกคัก ลูกค้าต่างชาติทั้งฟิลิปปินส์-มาเลเซียสนใจสินค้าโอท็อปไทย “ดนุช ตันเทอดทิตย์” ผู้ช่วย รมว.อว.เผย ห้าทุ่มยังกดโทรศัพท์ซื้อขายออนไลน์กันอยู่เลย อ้อนขอเปิดเฟส 2 เน้นทำบิ๊กดาต้ากับบีซีจีเปลี่ยนชุมชนเมื่อวันที่ 28 ก.ย. นายดนุช ตันเทอดทิตย์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตนร่วมกับจังหวัดอุดรธานีขับเคลื่อนอุดรโมเดลภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T โดยได้ผู้ได้รับการจ้างงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีกว่า 10 คนไปช่วยงานสาธารณสุขในเรื่องโควิด ทั้งการทำข้อมูลผู้ป่วย การฉีดวัคซีน การคัดกรองผู้ป่วย การทำ Home Isolation รวมทั้งการจัดทำอินโฟกราฟฟิค เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิดกับประชาชนใน จ.อุดรธานี ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงานมีความตื่นตัว มีความสุขที่ได้มาทำงานด่านหน้า และอยากจะอยู่ในโครงการ U2T ต่อนายดนุช กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. กำลังขยายโครงการ U2T ไปสู่เฟสที่ 2 อีกกว่า 4,000 ตำบล เพราะการดำเนินโครงการ U2T เฟส 1 ได้ผลค่อนข้างมาก ทำให้ตำบลที่มีการจ้างงานคึกคักและไปสร้างความเจริญให้กับตำบล โดยเฉพาะในเรื่องของการขายของออนไลน์ ตอนนี้เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีทั้งขายเสื่อกกออนไลน์ ขายกระชายออนไลน์ ขายตระกร้าเถาวัลย์ออนไลน์ ขายไม้กวาดออนไลน์ รวมถึงสมุนไพรต่างๆ และของดีประจำตำบลนั้นๆ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมตำบลจากเดิมชาวบ้านจะต้องรอให้คนมาซื้อถึงที่ แต่ขณะนี้ไม่ต้องแล้ว เพราะผู้ที่ได้รับการจ้างงานไปช่วยในเรื่องของการขายออนไลน์ ทั้งการวางระบบ ให้ความรู้กับชุมชน รวมทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ ตอนนี้ทุกคนสามารถขายของออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้แล้ว ปัจจุบันผลิตภัณฑ์โอท็อปของชาวบ้านได้ไปอยู่ในหน้าเฟสบุ๊คหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งสามารถขายไปต่างประเทศได้แล้ว อย่างคนฟิลิปปินส์และคนมาเลเซียก็มาซื้อ เรียกว่าห้าทุ่มยังกดโทรศัพท์ซื้อขายออนไลน์กันอยู่เลย นอกจากนี้ ผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ยังไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ซึ่งเป็น Unseen ของจังหวัดนั้น เช่น ล่องแก่งหรือเที่ยวชมถ้ำค้างคาวที่มีค้างคาวเป็นล้านๆ ตัวที่ จ.ขอนแก่น เป็นต้น เหล่านี้คือฝีมือของผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ทั้งสิ้น“ถ้าโครงการ U2Tสามารถขายไปเฟส 2 ได้ก็จะดีมาก เพราะจะช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดยเฉพาะผู้ว่างงานให้มาทำงานกับชุมชน โดยเบื้องต้นเฟส 2 ของ U2T จะทำเรื่องของบิ๊กดาต้า การเก็บข้อมูลภาคสนามให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะเน้นเรื่องของบีซีจี โมเดลเป็นหลัก เพราะเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นการถือโอกาสเปลี่ยนประเทศไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวต่อไป”

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2564 คณะทีมงาน U2T เขื่อนผาก ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงล้านนา ทดลองจัดทำ "สเปรย์หอมไล่ยุง" สูตรกลิ่นสมุนไพรพื้นบ้าน ประกอบด้วย กลิ่นมะกรูด กลิ่นตะไคร้หอม และกลิ่นเปเปอร์มิ้นต์ เพื่อจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน U2T เขื่อนผาก ได้รับการดูแลอำนวยความสะดวกจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเขื่อนผาก ที่ได้เอื้อเฟื้อสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม และขอขอบคุณ สมาคมครูผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่เครือข่ายอำเภอพร้าว ในการร่วมทดลองใช้ และอุดหนุนผลิตภัณฑ์ สเปรย์หอมไล่ยุงโดยการดำเนินงานของคณะทีมงาน U2T เขื่อนผาก ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  U2T เขื่อนผาก

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับคณะทำงาน U2T (โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (University to Tambon: U2T) ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบและสร้างโรงเรือนสมาร์ทฟาร์มแบบน็อคดาวน์ ณ โรงเรียนบ้านนาบุญโหล่งขอด ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมาสำหรับโรงเรือนสมาร์ทฟาร์มแบบน็อคดาวน์มีขนาด 6 x 16 เมตร ออกแบบโรงเรือนและควบคุมการก่อสร้างโดย อ.ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ ติดตั้งระบบ Smart Farm โดย อ.ณรงค์ นันทกุศล ซึ่งจะเริ่มปลูกแม่พันธุ์ต้นเก๊กฮวยในช่วงกลางเดือนตุลาคมเพื่อนำแจกจ่ายแก่เกษตรกรในพื้นที่ต่อไปขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.chiangmainews.co.th

เมื่อวันอาทิตย์ 17 ต.ค. 64 รายการเกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน เวลา 13.10 น. ทาง ททบ.5 TV5HD1 และไลฟ์สดทางเพจ "เกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน"ภาชนะใบไม้ นำมาใช้สำหรับใส่เบเกอร์รี่ หรือขนมไทย อาหารต่างๆเพื่อลดปริมาณขยะและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และยังเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ ทางโครงการU2Tตำบลกำแพงแสน ที่ใช้ภาชนะใบไม้ในการอบรมจัดอาหารว่างทุกครั้ง หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ https://www.facebook.com/U2T-ตำบลกำแพงแสนขอบคุณคลิปข้อมูลจาก เกษตรช่อง 5 พัฒนาชุมชน

เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่วัดสันต้นกอก หมู่ 9 หมู่บ้านศรีป่าซาง ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ในพื้นที่รับผิดชอบของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งนำนักศึกษาที่ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T มาทำโครงการธนาคารขยะชุมชน ในพื้นที่ 11 หมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาขยะมูลฝอยจากหอพัก บ้านเรือนและร้านอาหารทั้งนี้ น.ส.สิริพัชร ช่วงกูด ผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T กล่าวว่า ทีม U2T จำนวน 18 คนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาขยะร่วมกับเทศบาลตำบลท่าสุดและทีม อสม.ในพื้นที่ ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ.2564 รณรงค์ให้ชุมชนคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย จากนั้น ได้ริเริ่มจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อให้ชุมชนนำขยะหรือวัสดุรีไซเคิลมาให้ธนาคารแทนเงินสด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการธนาคารขยะได้ทำการตกลงไว้กับร้านรับซื้อของเก่า จากนั้นก็แลกเปลี่ยนเป็นเงินเข้าบัญชีของผู้ฝาก ส่วนขยะที่ธนาคารรับฝากก็จะทำการคัดแยกและรวบรวมไว้ขายให้กับซาเล้งหรือร้านรับซื้อของเก่า โดยขณะนี้ได้นำร่องธนาคารขยะชุมชนใน 2 พื้นที่ คือ หมู่ 2 บ้านสันต้นกอก และหมู่ 9 บ้านศรีป่าซาง เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีความพร้อม สามารถเป็นต้นแบบในการจัดทำธนาคารขยะในพื้นที่ ต.ท่าสุด เพื่อให้เกิดต้นแบบธนาคารขยะหมู่บ้าน อย่างน้อย 1 หมู่บ้านในชุมชน ตั้งเป้าลดปริมาณขยะใน ต.ท่าสุด ให้ได้ร้อยละ 40 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 5-10 ตันต่อวันน.ส.สิริพัชร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ผู้ได้รับการจ้างงานในโครงการ U2T ยังได้มีการจัดกิจกรรมประเมินสุขอนามัยของร้านอาหารร่วมกับเทศบาลและ อสม. เพื่อวิเคราะห์ ทดสอบ หาสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหารซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในพื้นที่ ต.ท่าสุด โดยร้านอาหารที่ผ่านการประเมินจะได้รับป้าย U2T Confirm โดยตั้งเป้าจะให้มีสถานประกอบการตัวอย่าง อย่างน้อย 15 แห่งขณะที่นายสมศักดิ์ ศรีบุรี นายกเทศมนตรีตำบลท่าสุด กล่าวว่า โครงการ U2T ช่วยเรื่องขยะชุมชนได้มาก โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ชุมชนคัดแยกขยะ และก่อตั้งธนาคารขยะ ถือเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามากขึ้น ช่วยลดปริมาณในชุมชน ส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่ขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างรายได้เสริมและฝึกนิสัยการออมให้กับคนในชุมชนด้วย โดยขณะนี้ ตนได้ทำหนังสือถึงสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อขอใช้พื้นที่ 3-4 ไร่มาทำการคัดแยกขยะด้าน ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวว่า ขยะสามารถทำเงินได้ ทำให้คนในชุมชนมีรายได้ ซำ้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย อว.พร้อมสนับสนุนธนาคารขยะชุมชนให้เกิดขึ้น และจะสนับสนุนทีม U2T แม่ฟ้าหลวงไปสู่การเป็นสตาร์ทอัพต่อไป

วิศวกรสังคมตำบลบ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม หนึ่งตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้จัดพัฒนาส่งเสริมสัมมาชีพ 15 ครัวเรือนยากจนสู่การสร้างรายได้อย่างมั่นคง กับ 6 กิจกรรม หวังสร้างรายได้ให้ครัวเรือนยากจน กับกิจกรรมเลี้ยงปลาดุก/การแปรรูปปลาดุก กิจกรรมแปลงผักพอเพียง/การแปรรูปผัก และกิจกรรมเพาะเห็ดฟาง/การแปรรูปเห็ดฟาง ระหว่างวันที่ 8 - 15 กันยายน 2564 ณ ชุมชนหมู่ 1 ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยวันที่8-9 กันยายน จัดกิจกรรม การเลี้ยงปลาดุก วันที่ 10-11 กันยายน เป็นกิจกรรมแปลงผักพอเพียง วันที่ 12 กันยายน กิจกรรมเพาะเห็ดฟาง 13 กันยายน กิจกรรมแปรรูปปลาดุก 14 กันยายน กิจกรรมแปรรูปพริก และวันที่ 15 กันยายน เป็นกิจกรรมแปรรูปเห็ดฟาง โดยมีนายธีระยุทธ อ่อนทอง และนางสาวจิตรา ช่วยบางเดื่อ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ โดยมีคุณพรทวี พระวิวงค์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการโดยผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องผ่านการตรวจคัดกรองตามมาตรการ ควบคุมโรคระบาด โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข จ.สุราษฎร์ธานีอย่างเคร่งครัดอีกด้วยขอบคุณภาพและข้อมูลจาก u2t sru

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งประดู่ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้จัดการตำบล ผศ.ดร.สายสุนีย์ จับโจร และคณะทำงาน ผู้รับจ้างภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้มีการเปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ เตาเผาขยะและเตาถ่านไร้ควัน ลดมลพิษสร้างรายได้ชุมชน โดยมีวิทยากร ผู้ชำนาญการ อาจารย์กมล พรหมมาก ปราชญ์ด้านการเกษตรที่เชี่ยวชาญเรื่องดิน การบริหารจัดการน้ำ การลดต้นทุนการทำเกษตร และการใช้เทคโนโลนีสมัยใหม่เข้าช่วยนำสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และว่าที่ร้อยตรี สมชาย ประกลาง ให้เกียรติให้ความรู้ จัดฝึกอบรมชาวบ้าน ได้รับเกียรติ จากท่านศ.ดร.สามารถ จับโจร มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ โดยมีการมอบ เตาเผาขยะไรควัน “ให้แก่ชาวบ้านตำบลหลุ่งประดู่ หมู่ที่ 4 บ้านกู่ศิลาขันธ์ หมู่ที่ 5 บ้านหนองผักโพด และหมู่ที่ 8 บ้านหนองโกสีย์ ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมาโดยมีท่านอาจารย์ กมล พรหมมาก และว่าที่ร้อยตรีสมชาย ประกลาง ผู้นำชุมชนตำบลหลุ่งประดู่ และองค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งประดู่ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่จัดกิจกรรม ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก  https://www.facebook.com/หลุ่งประดู่

เมื่อวันพุธ ที่ 22 กันยายน 2564 อ.ดร.ชรัญรักษ์ ปัญญามูลวงษา ผู้จัดการตำบลเวียงเหนือ ภายใต้โครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วย อ.ดร.ปณิสรา จันทร์ปาละ อ.วิมพ์วิภา บุญกลิ่น อ.จิรพันธ์ เครือสาร กรรมการผู้ร่วมพัฒนาโครงการ และทีมงาน U2T ตำบลเวียงเหนือ จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพด้านการท่องเที่ยว “เทคนิคการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ ด้วยSmart Phone เพื่อการตัดต่อโดย Application”โดยได้รับเกียรติจาก คุณจตุพร โปธาคำ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และฝึกภาคปฏิบัติ ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพด้านการท่องเที่ยวสำหรับทีมงาน U2T ตำบลเวียงเหนือ ให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพและวิดีโอ เช่น กฎการถ่ายภาพ การจัดวางตำแหน่งจุดเด่นของภาพ เทคนิคการวางตัวหนังสือบนภาพ การถ่ายวิดิโอเพื่อการตัดต่อโดย Applicationผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจในตำบล อันเป็นการส่งเสริมการสร้างอาชีพใหม่ด้านการท่องเที่ยวตามแนวชีวิตวิถีใหม่ในตำบลเวียงเหนือขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.facebook.com/U2T ตำบลเวียงเหนือ

นักจัดการทางสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนบ้านสามดอนช่วยกันเก็บผลผลิตมูลไส้เดือนโดยกิจกรรมในวันที่ 3 พ.ย.64 ที่ผ่านมาเป็นการเข้าไปติดตามผลการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนไว้ใช้เองและจำหน่าย ซึ่งผลที่ออกมาก็เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือชาวบ้านสามารถเลี้ยงและผลิตมูลไส้เดือนได้เอง ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นการดำเนินงานโดยกลุ่มอาชีพของชุมชนเองขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.facebook.com/U2tMamuang2Ton

กรุงธนบุรี ถือได้ว่าเป็นดินแดนทางด้านประวัติศาสตร์ที่รวบรวมศิลปะและวัฒนธรรมของไทยไว้อย่างมากมาย สืบเนื่องมาจากในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ทรงรื้อฟื้นศิลปะในหลาย ๆ แขนง รวมไปถึงศิลปะการแสดงมหรสพต่าง ๆ ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 จึงนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟู และพัฒนาศิลปะต่าง ๆ โดย 1 ในนั้นก็คือการละเล่นกระตั้วแทงเสือปัจจุบันการละเล่นกระตั้วแทงเสือจะพบมากในเขตธนบุรีโดยมีจำนวนมากกว่า 30 คณะ เป็นพื้นที่ ที่ยังคงอนุรักษ์ และสืบทอดการละเล่นนี้ให้คงอยู่กับแผ่นดินไทยซึ่งโครงการ U2T ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนและสืบสานการละเล่นกระตั้วแทงเสือ โดยจัดโครงการประกวดการออบแบบต้นแบบของที่ระลึกกระตั้วแทงเสือเพื่อเป็นการส่งต่ออนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นกระตั้วแทงเสือให้คงอยู่อย่างยั่งยืนในวิกฤตการณ์โควิด ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตของทุกๆ คน  รวมไปทั้งเหล่าศิลปินคณะกระตั้วเเทงเสือ ที่โดยส่วนมากนั้นจะต้องทำการเเสดงในงานมหรสพ งานบุญต่างๆ เพื่อเผยเเพร่ศิลปะ เเละสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมประกอบกับ เพื่อหารายได้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น การต่อลมหายใจควบคู่กับการสืบทอดอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้ ถือเป็นเรื่องดีงามที่ควรทำ เเละสร้างความยั่งยืนตลอดไป

U2T KORRUM ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะการจัดการวิสาหกิจชุมชน การสร้างสัมมาชีพของประชาชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ของกลุ่มอาชีพจักสาน โดยการนำขวดพลาสติกมาจัดทำไม้กวาดรีไซเคิล เพื่อช่วยลดปริมาณขยะในชุมชน และได้จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสานชลอม เพื่อส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้และมีการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยการนำวัสดุจากธรรมชาติมาตกแต่งเพื่อให้การจักสานเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โครงการนี้ได้จัดทำขึ้น ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านท่าเดื่อ หมู่ที่ 5 ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ชอบคุณภาพและข้อมูลจาก  https://www.facebook.com/U2TKorrum/

ทีมงานคณะอาจารย์ผู้ดำเนินกิจกรรมโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตสุ่มไก่เกรดพรีเมี่ยมของดี-ของฝากประจันตคาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ อาจารย์เหมือนฝัน สุขมนต์ อาจารย์โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล และผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การออกแบบลวดลาย และเทคนิคการจักสานสุ่มไก่เกรดพรีเมี่ยม”มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การสานสุ่ม เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทุ่นแรง ประหยัดเวลา ได้สุ่มไม้ไผ่ที่ดี มีคุณภาพ และได้มาตรฐานการผลิตสินค้าแปรรูปจากไผ่ แก่ประชาชนกลุ่มงานจักสานไผ่ตำบลบ้านหอย และตำบลดงบัง ณ ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ตำบลบ้านหอย จังหวัดปราจีนบุรี

U2Tกลางเวียงเมืองสา ได้ลงพื้นที่โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ณ โรงเรียนเทศบาล (บ้านหนองนก)วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ทีม U2Tกลางเวียงเมืองสา ได้ลงพื้นที่โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ณ โรงเรียนเทศบาล (บ้านหนองนก) ทางทีมงาน U2T กลางเวียงเมืองสา ได้สร้างโครงไม้เลื้อยเพื่อเตรียมปลูกพืชผักสวนครัว ตามแผนการดำเนินงานโครงการพืชผักสวนครัวนั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน ทุกคนสามารถได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมีอีกทั้งยังใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ และสามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณนั้นๆ เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้ การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ พื้นที่ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.facebook.com/U2TKlangwiang

ทีมงาน U2T มร.ลป. ตำบลนาโป่ง ออกแบบและจัดทำป้ายไวนิลเพื่อมอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและร้านค้าในตำบลเพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร สิริสุคันธา ผู้จัดการ U2T ตำบลนาโป่งและทีมงานได้ออกแบบและจัดทำป้ายไวนิลเพื่อมอบให้กับตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและร้านค้าในตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาสินค้า ของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งเป็นการนำเอาทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเชื่อมโยงธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลนาโป่ง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่สำหรับการออกแบบและจัดทำป้ายไวนิลดังกล่าว เป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและร้านค้าในตำบลให้เป็นที่รู้จักและเกิดการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ผ่านเพจ “ของดีนาโป่ง” และเพจ “U2T Tambol Napong” นับเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในพื้นที่อีกช่องทางหนึ่ง

Loading...