ผช.รมต.อว.ปลื้ม U2T มรภ.หมู่บ้านจอมบึงใช้ศาสตร์ 4DNA โชว์อัตลักษณ์ท้องถิ่น

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมต.ประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) หมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ที่ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง รับผิดชอบใน 35 ตำบล 10 อำเภอของ จ.ราชบุรี มีการจ้างงานทั้งสิ้น 700 อัตรา ปรากฎว่ามีการดำเนินกิจกรรมใน 35 ตำบล รวมทั้งสิ้น 179 กิจกรรม ตั้งแต่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้าโอท็อป(OTOP) การสร้างพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ การยกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ไปช่วยชุมชนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม การดำเนินการเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ จากการที่ตนได้เห็นผลงานบางส่วนของโครงการ U2T พบว่าส่วนใหญ่เป็นผลงานที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี


ผช.รมต.อว.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนด้านโควิด -19 พร้อมมอบกล่อง อว.พารอด ให้กับมหาวิทยาลัย ณ ศูนย์พักคอยของ มรภ.หมู่บ้านจอมบึงและเดินทางไปแหล่งเรียนรู้บ้านมีดบิน ต.จอมบึง ซึ่งมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพการตีมีดเหล็กลายโบราณ เชื่องโยงเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ จ.ราชบุรี และ เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้บ้านช่างสกุลบายศรีของตำบลเจ็ดเสมียน อ.โพธาราม ซึ่งเป็นกระบวนการนำศาสตร์ 4DNA ซึ่งก็คือศาสตร์ที่ช่วยถอดจุดเด่นของจังหวัดตั้งแต่ คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจสังคม อาณาเขต ประเพณีวัฒนธรรม และจุดเด่นอื่นๆ มาใช้ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ หรือลวดลายสินค้าพิเศษเพื่อไปใช้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ หรือเรียกว่าเป็นการต่อยอดพัฒนาสินค้า และศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจนได้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวตลาดนี้มีปราชญ์สร้างงานสร้างรายให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน.


“U2T ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยบูรณาการและประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และให้มีการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างน่าพอใจ” ดร.ดนุช กล่าว



ข่าวสาร

กระทรวง อว.เปิดโรดแมป “โครงการ U2T”พัฒนาทักษะผู้ได้รับการจ้างงานผ่านระบบออนไลน์ก่อนทยอยลงพื้นที่จริง!

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ อว.ได้จัดวางโรดแมปโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T เบื้องต้น โดยด้านการจ้างงาน เริ่มจ้างงาน 60,000 คน เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564ที่ผ่านมา และประมาณ 15,000 คน เริ่มการพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านภาษาอังกฤษ และด้านสังคม ซึ่งตามแผนงานจะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้แล้วเสร็จภายใน ต.ค.2564 ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่า ด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคม แต่ละมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.พ.2564 และจะทบทวน ปรับปรุงแผนเป็นระยะๆ ให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยแบ่งเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยจะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ จะมีการดำเนินการแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน คาดจะเริ่มดำเนินการ มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ โดยการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดจะจัดในเดือน พ.ย.2564

โครงการ U2T” ติดอาวุธทางปัญญาจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วประเทศ

“โครงการ U2T เป็นการช่วยเหลือลูกหลานชาวบ้าน 6 หมื่นคน ให้มีงานทำในภาวะวิกฤติโควิด-19 ขณะเดียวกัน จะสร้างคน 6 หมื่นคนด้วยทักษะใหม่ ให้เป็นคนที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทย จาก 3 พันตำบล สู่อำเภอ สู่จังหวัดและทั่วทุกภูมิภาค” U2T เป็นโครงการจ้างงาน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน 60,000 คน ให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้า โดยดำเนินการ 1 ปี สำหรับโรดแม็ปของโครงการ U2T ขณะนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เริ่มพัฒนาทักษะการทำงานในด้านต่างๆผ่านระบบออนไลน์ ทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะด้านการเงิน ภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม รวมทั้งทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับงานพัฒนาชุมชน พร้อมๆกับการจัดทำข้อมูลชุมชน ข้อมูลตำบลใน 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งหรืออ่อนแอของตำบลนั้นๆ ในการใช้ทำแผนการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ โดยข้อมูลจะมีทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม ด้านชุมชนเมืองของตำบล เป็นต้น

อว. คลอด โรดแมป"โครงการ U2T” เริ่มจ้างงานแล้วกว่า 6 หมื่นคน

นายศุภชัย กล่าวว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากการทำข้อมูลประสิทธิภาพและศักยภาพตำบลแล้ว ยังจะมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชนที่สะท้อนประสิทธิภาพและศักยภาพตำบล เพื่อจัดเก็บลงในระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือ DATA LAKE ผ่าน APPLICATION U2T ในมือถือ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 ซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มข้อมูลด้านการท่องเที่ยว กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มข้อมูลด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลุ่มข้อมูลด้านชุมชนเมือง ของตำบล เป็นต้น ทั้งนี้จะทำการจัดเก็บข้อมูลลง DATA LAKE ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ตุลาคมนี้ ส่วนด้านกิจกรรมยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ และจะมีการทบทวนและปรับปรุงแผนเป็นระยะๆให้สอดรับกับความจำเป็นและความต้องการของชุมชน โดยกิจกรรมต่างๆนั้น จะแบ่งเป็นกรอบใหญ่ๆ เช่น กิจกรรมในด้านการพัฒนาสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น โดยกิจกรรมในการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมนี้ จะดำเนินการผ่านคนที่ได้รับการจ้างงานภายใต้การชี้แนะให้คำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในมหาวิทยาลัย “นอกจากนี้ภายใต้ U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล จะมีการดำเนินการที่เรียกว่าแฮกกาธอน (HACKATHON) โดยให้ผู้ได้รับการจ้างงานจะนำโจทย์หรือปัญหาของชุมชนมาหาแนวทางในแก้ปัญหาผ่านกระบวนการแฮกกาธอน ซึ่งคาดว่าเริ่มดำเนินการในเดือน มี.ค.นี้ และจะมีการแข่งขันกันเป็นระยะๆ และการแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ คาดว่าจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2564” รองปลัด อว.กล่าว

อว.ส่ง 60,000 นักศึกษา-ประชาชนลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า U2T เป็นโครงการที่สร้างอนาคตให้กับ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างอนาคต สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับนักศึกษาและประชาชน 60,000 คนที่ อว.จ้างงาน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี 30,000 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 15,000 คน และประชาชนอีก 15,000 คน "โดยเริ่มส่งคนจำนวน 60,000 คนสู่ 3,000 ตำบล ในวันที่ 1 ก.พ. 2564 หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 10,000 ล้านบาทให้ อว. ไปจ้างงานเมื่อปลายปี 2563 เพื่อทำให้การว่างงานทุเลาลง พร้อมกับสร้างทักษะใหม่ให้กับผู้ได้รับการจ้างงานทั้ง 60,000 คน และที่สำคัญให้คนรู้ว่าบัดนี้มหาวิทยาลัยออกจากหอคอยงาช้างแล้ว สำหรับโครงการนี้จะมีการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน" รมว.อว.กล่าว

Loading...